Week9

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมาย เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๑ – ๑๕
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานกินหาง ตอน ของเล่นทำเอง
หลักภาษา  :  มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา 
Key Questions :
นักเรียนคิดว่าของเล่นเกิดจากอะไร ใครเป็นคนคิดค้นขึ้นมา แล้วนักเรียนสามารถทำเองได้หรือไม่
- นักเรียนจะเขียนและสะกดคำให้ถูกต้องได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำในมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา  
- Blackboard  share เติมคำศัพท์ให้สมบูรณ์
พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
บัตรคำ
นิทานกินหาง ตอน ของเล่นทำเอง
วันจันทร์
ชง : ครูอ่านนิทานกินหาง ตอน ของเล่นทำเอง ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน 
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  นักเรียนเขียนชื่อของเล่นที่ตนเองชื่นชอบและบอกเหตุผล พร้อมวาดภาพประกอบ
                           วันอังคาร
ชง : นักเรียนเขียนคำศัพท์จากบัตรภาพ จำนวน ๑๐ คำ
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
- นักเรียนร่วมกันสังเกต พร้อมกับจัดหมวดหมู่คำศัพท์เหล่านี้
-
 ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำที่ได้จัดหมวดหมู่ นักเรียนคิดว่าจะจัดได้อย่างไร ใช้หลักการใดในการจัด
วันพุธ
ชง :  นักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกมเติมพยัญชนะ   คำที่อยู่บนกระดาน
เชื่อม :  ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากเล่นเกม สังเกตคำและนำมาเขียนลงในสมุดคำศัพท์ที่ทำเอง
ใช้ 
: นักเรียนทำสมุดคำศัพท์ แล้วเขียนคำที่ใช้ในการเล่นเกมลงไป พร้อมเพิ่มเติมคำศัพท์ให้เต็ม วาดภาพประกอบให้สวยงาม
วันพฤหัสบดี
ชง : นักเรียนอ่านนิทานเรื่อง โนมีหนีออกจากบ้าน 
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
 : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  นักเรียนเล่าเรื่องราวต่อกันจนจบเรื่อง
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียงการ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
ของเล่นที่ชื่นชอบ
คำศัพท์จากบัตรภาพ
- สมุดคำศัพท์
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทานความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม










ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



 




บันทึกหลังการสอน

สัปดาห์นี้พี่ ป.๑ ได้เรียนรู้การเขียนคำศัพท์จากสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเป็นส่วนใหญ่ วันแรกให้อ่านนิทานเรื่อง ของเล่นทำเอง พี่ๆ วาดภาพของเล่นที่ตนเองชื่นชอบ พร้อมบอกเหตุผลที่ชอบ ให้พี่ๆ ลองเขียนด้วยตัวเอง วันต่อมาให้พี่ๆ เขียนคำศัพท์จากสิ่งที่เห็น คล้ายๆ กับการเขียนตามคำบอก แต่เปลี่ยนวิธีเป็นเขียนตามสิ่งของที่ครูนำมาให้ดู อย่างเช่น หมวก ดินสอ ยางลบ ร่ม ตะกร้า นม ไม้ ลูกปัด เป็นต้น สิ่งของที่นำมานั้น เป็นของที่อยู่รอบๆ ตัว และเห็นทุกวันอยู่แล้ว จึงอยากให้พี่ๆ รู้จักคำศัพท์ไปด้วย จากคำศัพท์ที่พี่ๆ ได้เขียน วันต่อมาจึงให้พี่ๆ ได้ลองแต่งนิทานโดยนำคำศัพท์ที่เขียนเมื่อวาน มาอย่างน้อย ๓ คำ พี่ๆ บางคนเขียนเองได้โดยที่คนไม่ต้องบอก แต่อาจมีคำผิดอยู่บ้าง สำหรับพี่ๆ ที่ยังเขียนได้ไม่คล่อง ส่วนใหญ่คำไหนที่ไม่รู้จักก็จะถามครูเพื่อความแน่ใจตลอด ตอนนี้ปัญหาคือ พี่ๆ ส่วนใหญ่ยังจำสระไม่ค่อยได้ ทำให้เวลาสะกด สะกดผิด และเขียนออกมาไม่ได้ จะเห็นได้ชัดเจนเวลาให้เขียนตามคำบอก บางคนไม่ชอบ และแสดงออกมาทางสีหน้าชัดเจน แต่เขาก็ต้องฝึกเขียน ดังนั้นตอนที่ให้เขียน ครูจึงบอกอยู่เสมอว่าเขียนเลย ผิดถูกไม่เป็นไร แล้วเราค่อยมาตรวจคำตอบพร้อมกันอีกที

ระดับชันประถมศึกษาปีที่ ๓
 เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำมูล คำประสม คำสมาส และคำสนธิได้ สามารถวิเคราะห์และจำแนกได้ นำมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๑ – ๑๕
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานชาวบ้าน เรื่อง ปลาหมอตายเพราะปาก
หลักภาษา  :  คำมูล คำประสม,คำสมาส คำสนธิ
Key Questions :
นักเรียนคิดว่าการพูดโดยไม่คิด หรือขาดสติจะส่งผลอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นนักเรียนสามารถอ่าน และเขียนคำมูล คำประสม ได้ถูกต้องอย่างไร
นักเรียนอ่าน และเขียนคำสมาส สนธิ และใช้ได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Robin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำมูล คำประสม คำสมาส และคำสนธิ
- Blackboard  Share : คำมูล คำประสม คำสมาส และคำสนธิ
- Mind Mapping : 
สรุปความเข้าใจ
พฤติกรรมสมองสื่อและแหล่งเรียนรู้ :ห้องเรียน
บัตรภาพ
บัตรคำ
นิทานชาวบ้าน เรื่อง ปลาหมอตายเพราะปาก
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านนิทาน “ปลาหมอตายเพราะปาก” โดยอ่านออกเสียง (อ่านพร้อมกัน  อ่านเรียง อ่านคนเดียวและอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพความคิด
วันอังคาร
ชง ครูให้นักเรียนดูบัตรภาพทั้งหมด พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากภาพเหล่านี้บ้าง?
- แบ่งกลุ่มเล่นเกมต่อคำจากบัตรภาพ
เชื่อม : - นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำของตนเอง หลังจากเล่นเกมแล้ว
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากนักเรียนนำเสนอ ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้สามารถแยกคำ หรือนำมาประกอบเป็นคำใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร?
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์ของตนเอง และกลุ่มเพื่อนลงในสมุดบันทึก พร้อมแต่งประโยค ๑๐ ประโยค
วันพุธ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรม และการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนแต่ละคนออกไปเขียนคำที่เป็นคำมูลและคำประสม
เชื่อม : ครูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คำมูล และคำประสม โดยใช้ PowerPoint ช่วยในการสอน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของคำที่ประสมกันแล้วเกิดความหมายใหม่ และความหมายเดิมของคำโดดด้วย
ใช้
 : นักเรียนทำใบงานเติมคำประสม   และหาความหมายของคำ
วันพฤหัสบดี
ชง : นักเรียนแบ่งเป็น ๒ ทีม หันหลังให้กัน แล้วครูแจกบัตรคำให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนเล่นเกมจับคู่บัตรคำของตนเอง และของเพื่อนที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
- เมื่อจับคู่เสร็จ ให้แต่ละคู่ออกมาเขียนคำที่ตนเองได้ไว้บนกระดาน

เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำที่นักเรียนได้ นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในคำเหล่านี้บ้าง แล้วนักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้เป็นคำอะไร?
ใช้ นักเรียนแต่ละคนเลือกคำบนกระดาน ๘ คำมาแต่งเรื่องราวตามจินตนาการ พร้อมวาดภาพประกอบ

วันศุกร์
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ ครูเพิ่มเติมเรื่องคำสมาส คำสนธิ โดยใช้ PowerPoint พร้อมทั้งเขียนคำศัพท์ใหม่บนกระดาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง คำมูล คำประสม คำสมาส และคำสนธิ
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดในสัปดาห์นี้โดยแต่งเป็นเรื่องราว พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
ภาระงาน
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
การวิเคราะห์แยกแยะคำสมาส คำสนธิได้
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำมูล คำประสม คำสมาส และคำสนธิ เป็นเรื่องราวตามจินตนาการ
ชิ้นงาน
- แผนภาพความคิดสรุปเรื่อง
- แต่งประโยคคำมูล คำประสม
- ใบงาน
- เรื่องราวจากคำสมาส สนธิ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นเรื่องราวตามจินตนาการ
ความรู้ เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำมูล คำประสม คำสมาส และคำสนธิได้ สามารถวิเคราะห์และจำแนกได้ นำมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มีมารยาทในการฟังและการพูด




ตัวอย่างภาพกิจกรรม








ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ ป.๓ ได้อ่านนิทาน เรื่อง ปากหมอตายเพราะปาก ให้พี่ๆ อ่านเรื่องราว ด้วยเวลาที่น้อย เลยให้สรุปเป็นแผนภาพความคิด แต่บางคนก็ยังไม่เสร็จเรียบร้อย วันต่อให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม นำบัตรภาพมาให้แต่ละกลุ่มช่วยกันต่อให้เป็นคำหนึ่งคำที่มีความหมาย แล้วออกมาเขียนแชร์กันบนกระดาน พี่ๆ ได้คำศัพท์มากกว่าคำที่ครูเตรียมไว้ และมีความคิดที่สร้างสรรค์ ลองให้พี่ๆ แยกคำเป็นคำเดียว แล้วหาความหมาย รวมสองคำแล้วหาความหมาย อย่างเช่น แม่ หมายถึงหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก ,น้ำ หมายถึง  ของเหลวที่ใช้อาบกินและซักฟอก ,แม่น้ำ หมายถึง ลํานํ้าใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลําธารทั้งปวง เป็นต้น วันต่อมาให้เขียนแชร์คำประสมที่ตนเองรู้จักบนกระดาน แล้วเลือกมา ๓ คำ รวมกับคำศัพท์เมื่อวานเป็น ๘ คำ นำมาแต่งนิทานโดยให้มีคำที่ตนเองเลือกรวมอยู่ด้วย วันสุดท้ายครูแป้งให้เขียนตามคำบอก ๓๐ คำ แล้วนำเลือกมาแต่งประโยค ๕ ประโยค

สิ่งที่ได้เรียนรู้
 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ นอกจากการสอนในโรงเรียน คือ การที่ได้มาเรียนรู้ที่ปากช่อง พร้อมๆ กับครูหลายๆ ท่าน การมาเรียนรู้ในครั้งนี้ ถ้าจะถามว่าได้อะไรบ้าง? อาจจะบอกออกมาเป็นความพูด หรือผ่านตัวอักษรได้ไม่หมด เพราะส่วนหนึ่งที่ประทับใจ คือ ความรู้สึกที่อยู่ข้างใน เคยได้ยินว่าโอกาส มักมาโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว ครั้งนี้ก็เหมือนกัน เกือบจะไม่ได้มาเรียนที่ปากช่องพร้อมกับคนอื่นๆ แล้ว รู้สึกดีที่ตัดสินใจถูก จนไปพบกับประสบการณ์ดีๆ การมาในครั้งนี้ ส่วนตัวได้เรียนรู้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำแผน Body Scan , โยคะ , จิตศึกษา ทุกรายละเอียดต้องชัดเจน แม้แต่ตัวอักษร หรือคำบางคำก็ตาม เป้าหมายของการมาครั้งนี้ตามความรู้สึกของฉัน คือ ต้องการให้ครูทบทวนตัวเอง ทบทวนการเขียนแผน รับฟังร่วมกัน และแก้ไขร่วมกัน ใครจะรู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำเกือบทุกวัน มันยังไม่ใช่ มันยังไปไม่ถึงที่สุด เป้าหมายของเรายังไม่ชัดเจน หรือเราคิดว่ามันดีอยู่แล้ว ก็เลยปล่อยละเลยไปบ้าง หยุดพัฒนาตนเอง ยึดติดกับสิ่งที่คิดว่าดีแล้ว การมาในครั้งนี้ จึงเป็นการทบทวนอีกครั้ง
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ครั้งนี้ คือ ได้รู้จักครูท่านอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ได้คุยกับเพื่อนๆ มากกว่าเดิม ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ได้ท้าทายความกลัวของตัวเอง และได้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง อย่างแรกได้พูดคุยกับครูมากยิ่งขึ้น เพราะเราได้ทำงานร่วมกัน จะเห็นวิธีการทำงานของครูแต่ละท่าน การให้คำแนะนำ และความเป็นกันเอง เราได้พูดคุยกันเยอะขึ้นมากจากการมาในครั้งนี้  ได้คุยกับเพื่อนๆ มากกว่าเดิม หมายถึง เราที่เป็นนักศึกษาฝึกสอนด้วยกัน เราเคยทักทายกันธรรมดาๆ แต่ไม่เคยคุยกันอย่างคุ้นเคยได้มากขนาดนี้ ได้เห็นเพื่อนๆ ในอีกหลายมุมมอง ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำและได้ท้าทายความกลัวของตัวเอง เป็นครั้งแรกที่ได้ปีนเขา ซึ่งเป็นภูเขาจริงๆ ภูเขาที่สูงมากๆ ส่วนตัวชอบเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติ และความท้าทายอยู่แล้ว ไปไหนไปกัน ลุยได้เต็มที่ แต่ก็มีความกลัวซ่อนอยู่ ชอบที่จะขึ้นไปสูงๆ แต่ไม่ชอบที่ต้องมองกลับมาเห็นความสูงที่เราปีนขึ้นมา ตอนลงจากเขาจึงกลัวมากเป็นพิเศษ ด้วยความที่พื้นดินก็เปียกชื้น มีทั้งมอส หิน และทางเดินที่ลาดชัน เดินหลงไปนิดนึงด้วย สิ่งที่ได้จากการปีนเขา คือความพยายาม อดทน การประคับประคองกันและกัน และก้าวผ่านความกลัวของตนเอง ต่อมาได้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง คือเราเป็นคนที่พูดในคนหมู่มากได้ไม่ดีนัก จะเกิดอาการตื่นเต้น เสียงที่ออกมาก็จะสั่นโดยอัตโนมัติ จะเป็นอย่างงี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะคุ้นชิน อาการนี้จะเกิดทุกครั้งที่พูดในคนกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มคนที่ไม่รู้จัก วิธีแก้คือการทำตัวให้คุ้นชิน แต่ต้องใช้เวลาหลายวัน และฝึกพูดในกลุ่มเยอะๆ อาการนี้ก็จะดีขึ้น หรือหายไปโดยอัตโนมัติ  จากปัญหานี้ ทำให้หนักใจในการเรียนรู้ เรื่องการเล่าเรื่องมาก กลัวเล่าไม่รู้เรื่อง กลัวเสียงสั่นเพราะความตื่นเต้น แต่ อ.ปรีชา ท่านอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้น่าสนใจ และเข้าใจง่ายมาก ชอบการเล่านิทานของอาจารย์ ท่านเล่าได้เข้าใจง่าย และสนุกไปพร้อมๆ กัน โจทย์ที่อาจารย์ให้ในการเล่าเรื่อง เป็นโจทย์ที่ยาก และใหญ่มากสำหรับเรา คำว่า “อำนาจ” จะสื่ออย่างไร ให้ผู้อื่นเข้าใจโดยไม่ต้องเอ่ย คำๆ นั้นออกมา เป็นสิ่งที่ท้าทายอีกเหมือนกัน ด้วยเวลาไม่นานนัก ทำให้เรื่องเล่าของเรา ยังไม่ชัดเจนนัก ต้องเพิ่มเติมอีกหลายจุด ได้ทั้งคำแนะนำจากอาจารย์ และครูท่านอื่นๆ เป็นโอกาสที่ดีมาก ที่ได้มาเรียนรู้กับอาจารย์ที่เก่ง และมีความสามารถมากขนาดนี้
สุดท้ายลองคิดเล่นๆ ดู คนเราจะได้รับโอกาสดีๆ อย่างนี้ได้จากที่ไหนได้บ้าง ตอนนี้เราเป็นแค่นักศึกษาฝึกสอน แต่เราได้ “โอกาส” ในการเรียนรู้มากขนาดนี้ จากโรงเรียนแห่งนี้ ที่นี่ไม่ได้เห็นเป็นแค่นักศึกษาฝึกสอน แต่เขาเห็นเราเป็นครูคนหนึ่ง ที่พร้อมรับการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาทั้งตัวเราเอง และนักเรียนของเรา ขอบคุณโอกาส ขอบคุณการเรียนรู้ในครั้งนี้ ขอบคุณลำปลายมาศพัฒนา...







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น