ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเรื่องอักษรสามหมู่ อ่านและสามารถผันอักษรได้ นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๒
๒๓ – ๒๗
พ.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก ตอน กากับลา
หลักภาษา : อักษรสามหมู่ ,การผันอักษร
Key Questions :
- ถ้านักเรียนเป็นลานักเรียนจะหาวิธีในการแก้ปัญหาได้อย่างไร
- นักเรียนเห็นอะไรในเพลงบ้าง แล้วเพลงน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
- นักเรียนเห็นอะไร จากสิ่งที่ครูนำมาให้ดู นักเรียนคิดว่าของสิ่งนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง
- อักษรสามหมู่เกี่ยวข้องกับการอ่าน การเขียน หรือสามารถนำไปใช้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share :ตารางการผันอักษร
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการผันอักษร
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน การผันอักษร และอักษรสามหมู่
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- เพลงสระอา
- บัตรภาพ
- บัตรคำ
- อ่านนิทานสระสนุกตอน กากับลา
|
วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานสระสนุก ตอน กากับลา ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
วันอังคาร
ชง : ครูเปิดคลิปเพลง สระอา ให้นักเรียนฟัง ครูพานักเรียนร้องตามอีกครั้ง พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรในเพลงบ้าง แล้วเพลงน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องใด?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสระในภาษาไทย
ใช้ : - ครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละแผ่น ให้นักเรียนจับฉลากสระ นำมาเขียนคำที่สะกดด้วยสระและมีความหมาย พร้อมวาดภาพประกอบ
- นักเรียนนำเสนอผลงาน โดยการสะกดคำต่อกันที่ละคนจนครบจำนวน
วันพุธ
ชง : - ครูนำนิ้วมือวิเศษที่ทำเสร็จแล้วมาให้นักเรียนดู พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร จากสิ่งที่ครูนำมาให้ดู นักเรียนคิดว่าของสิ่งนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำนิ้วมือวิเศษไปใช้
- ครูพานักเรียนทำนิ้วมือวิเศษ ช่วยในการผันอักษร
ใช้ : - นักเรียนเลือกคำศัพท์ในนิทานมา ๕ คำ
- สร้างตารางผันอักษร แล้วใช้นิ้วมือวิเศษช่วยผันอักษร พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูมีบัตรภาพรูปสัตว์ให้นักเรียนดู (เสือ กา ช้าง) พานักเรียนทำกิจกรรม โดยให้นักเรียนบอกพยัญชนะต้น ออกเสียงพร้อมทำท่าประกอบ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ และสามารถเชื่อมโยงกับอักษรสามหมู่
ชง : เล่นเกมจัดหมวดหมู่บัตรคำ โดยครูมีบัตรคำศัพท์ที่นำมาจากนิทาน แล้วให้นักเรียนช่วยกันจัดลงในช่องที่ครูเตรียมไว้
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อักษรสามหมู่
ใช้ : เขียนสรุปเกี่ยวกับอักษรสามหมู่ลงในสมุดเล่มเล็ก
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “อักษรสามหมู่เกี่ยวข้องกับการอ่าน การเขียน หรือสามารถนำไปใช้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
|
ภาระงาน
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมสะกดคำ
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละครเหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
- นิ้วมือวิเศษ
- ตารางผันอักษร
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
|
ความรู้ : นักเรียนเข้าใจเรื่องอักษรสามหมู่ อ่านและสามารถผันอักษรได้ นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
|
ตัวอย่างกิจรรม
ตัวอย่างชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
ในสัปดาห์ที่สอง
การสอนเริ่มลงหลักภาษามากขึ้น วันจันทร์ให้อ่านนิทาน โดยครูเป็นผู้อ่านนำก่อน
แล้วให้พี่ๆอ่านตามที่ละช่อง พี่ๆบางคนอ่านได้คล่อง แต่ก็มีที่ยังอ่านตามไม่ทัน
วันอังคารครูให้พี่ๆดูคลิปเพลงสระอา พี่ๆตั้งใจดูกันมาก
และสามารถบอกได้ว่าเป็นเพลงเกี่ยวกับสระอา ครูทบทวนความรู้เดิมของพี่ๆเรื่องสระในภาษาไทย
โดยนำบัตรคำรูปสระมาให้พี่ๆดู และให้พี่ตอบว่าเป็นสระอะไร จากนั้นให้พี่ๆช่วยผสมคำ
โดยให้พี่มาจับฉลากพยัญชนะและสระ คนละ ๑ ตัว นำมาผสมคำ จะได้คำที่มีความหมาย
และไม่มีความหมาย กิจกรรมนี้พี่ๆตั้งใจทำมาก แต่สิ่งที่พบคือ พี่ๆบางคนยังจำสระได้ไม่หมด
ส่วนใหญ่จะเป็นสระประสม วันพุธ ครูพาพี่ทำนิ้วมือวิเศษช่วยในการผันอักษร
ต้องแรกครูถามพี่ๆว่า นิ้วมือของเราสามารถนำอะไรได้บ้าง ก็จะมีคำตอบที่หลากหลาย
“เขียนหนังสือ”, “รับประทานอาหาร”, “หยิบจับสิ่งของ”
จากนั้นเมื่อพี่ๆทำนิ้วมือผันอักษรของตัวเองได้แล้ว ครูลองให้พี่ผันอักษร
โดยครูเลือกคำมาจากในนิทานมา ๕ คำ พี่ๆช่วยกันผันอักษรได้
วันนี้ครูให้การบ้านเรื่องผันอักษรให้กับพี่ๆ ผลที่ได้ในวันต่อมา คือ
จำนวนข้อเยอะเกินไป บางคนไม่เข้าใจคำถามที่ครูให้ไป
แต่พี่ๆก็สามารถเขียนออกมาได้ดี วันพฤหัสดี ครูให้พี่ดูคลิปเพลงอักษรสามหมู่ หลังจากดูจบครูถามพี่ๆว่าเพลงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
พี่ๆตอบ “พยัญชนะครับ” “ไก่กับไข่ครับ” “อักษรสามหมู่”
จากนั้นลองให้พี่ช่วยเติมพยัญชนะที่อยู่ในอักษรสูง อักษรกลาง ยังไม่ถึงอักษรต่ำ
เพราะเวลาหมด งานในวันนี้ คือให้พี่เลือกพยัญชนะตัวใดก็ได้ในตารางอักษรสูง
อักษรกลาง นำมาเขียนคำ และวาดภาพประกอบ
ในวันนี้ครูนีเข้าช่วยทำให้กิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี วันศุกร์ ครูพาพี่ๆ
อ่านนิทานเรื่อง ยักษ์งุงุ โดยครูพาอ่านก่อน แล้วให้พี่ๆอ่านตาม พี่บางคนอ่านได้
อ่านไม่รอเพื่อนๆ มีทั้งพี่ที่อ่านได้เร็ว และอ่านไม่คล่อง
จากนั้นให้พี่ๆที่ทำงานเมื่อวานไม่เสร็จมาทำกับครู
และพี่ๆที่ทำเสร็จไปอ่านหนังสือกับครูแดง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวและจับใจความสำคัญได้ สามารถเข้าใจแยกแยะมาตราตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงมาตราได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานอ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๒
๒๓ – ๒๗
พ.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง กบกินเดือน (อีสาน/เหนือ)
หลักภาษา : มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา Key Questions : - นักเรียนคิดว่านิทานของภาคเหนือและภาคอีสานมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร
- นักเรียนสามารถแยกคำที่มีตัวสะกดตรงมาตรา และไม่ตรงมาตราถูกต้องได้อย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด : - Blackboard Share : การจัดหมวดหมู่คำที่มีตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา- Round Robin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
- Flow Chart : ชาร์ตคำที่มีตัวสะกด - พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- ชาร์ตคำศัพท์ในมาตราตัวสะกด
- นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง กบกินเดือน(อีสาน/เหนือ)
|
วันจันทร์
ชง : อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
วันอังคาร
ชง : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านผ่านมา ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “นักเรียนคิดว่านิทานของภาคเหนือและภาคอีสานมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร?”
- “นักเรียนชอบตัวละครใดในเรื่องบ้าง เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเนื้อหาและตัวละครในนิทานที่อ่านของทั้งสองภาค (เหนือ/อีสาน)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปตอนจบนิทานใหม่ พร้อมวาดภาพประกอบ และอภิปรายร่วมกัน
วันพุธ
ชง : - นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม เล่นเกมหาคำจากที่มีตัวสะกดในชาร์ตคำให้ได้มากที่สุด
- นักเรียนจัดหมวดหมู่คำศัพท์ในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
ใช้ : นักเรียนเลือกคำศัพท์มาแต่งประโยค ๕ประโยค และวาดภาพประกอบ
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสามารถแยกคำที่มีตัวสะกดตรงมาตรา และไม่ตรงมาตราถูกต้องได้อย่างไร ”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำในมาตราตัวสะกด ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน
ใช้ : - นักเรียนค้นหาคำที่มีตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา จากหนังสือนิทาน อย่างน้อยแม่ละ ๓ คำ
- นักเรียนเลือกคำศัพท์จำนวน ๕ คำมาเขียนการ์ตูนช่อง พร้อมวาดภาพประกอบ
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การอ่านนิทาน เรื่อง กบกินเดือน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การวิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำศัพท์ตัวสะกดที่ตรงมาตราและตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตราตามความสนใจ
ชิ้นงาน
- แต่งตอนจบนิทานใหม่
- แต่งประโยคและวาดภาพประกอบ
- แต่งนิทาน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่อง ฯลฯ)
|
ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวและจับใจความสำคัญได้ สามารถเข้าใจแยกแยะมาตราตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงมาตราได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานอ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้ ทักษะการคิด - การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ - การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ -การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม - การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน ทักษะการเรียนรู้ - การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ - มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ : - เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน - มีมารยาทในการฟังและการพูด |
ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์ที่สองของการสอน
เริ่มด้วยวันจันทร์ ครูแป้งพาพี่อ่านนิทาน ให้พี่ๆอ่านเอง โดยพาอ่านเป็นย่อหน้า
แล้วสรุปเป็นย่อยๆ ทำให้พี่ๆเข้าใจมากกว่าการอ่านที่เดียวหมด แล้วค่อยมาสรุปทีหลัง
ได้เห็นเทคนิคการสอนของครูแป้ง ในหลายๆเรื่อง เช่น เล่าเรื่องก่อนนำอ่านนิทาน
อ่านซ้ำคำที่อ่านยาก การกำหนดเวลาที่แน่นอน เป็นต้น
วันอังคารครูให้พี่ๆแต่งนิทานใหม่ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
กบ,เดือน/ตะวัน,หรืออะไรก็ได้ที่เกี่ยวกบกินเดือน โดยแต่งเป็นความเรียงก่อน
และวาดภาพประกอบ พี่ๆตั้งใจแต่งนิทานมาก วันพุธครูลงหลักภาษาเรื่อง มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
โดยให้พี่ๆแบ่งกลุ่ม แล้วหาคำที่มีตัวสะกดที่อยู่ในชาร์ตคำให้ได้มากที่สุด
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มลองจัดหมวดหมู่ในชาร์ตแผ่นใหญ่ กิจกรรมวันนี้
ครูจัดลำดับได้ไม่ดีนัก จึงปัญหาเล็กน้อย ครูแป้งจึงเข้ามาช่วยแก้สถานการณ์
วันพฤหัสบดี ทบทวนคำมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
และแม่ก กา ให้พี่ๆแบ่งกลุ่มเป็นแปดกลุ่มตามมาตรา
แจกบัตรคำเปล่าๆตามสมาชิกในกลุ่ม ให้เขียนคำที่ตรงตามมาตราที่ตัวเองได้
และวาดภาพประกอบ วันศุกร์ ทบถามพี่ๆเกี่ยวกับตัวสะกดที่มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
ครูแจกบัตรคำที่ให้พี่ๆทำเมื่อวานนี้ แล้วให้พี่ๆ ช่วยจัดหมวดหมู่
โดยการนำบัตรคำไปติดที่ช่องที่ครูเตรียมไว้ เมื่อติดเสร็จให้พี่ๆ
เลือกคำที่ตัวเองชอบมา ๕ คำ นำมาแต่งประโยค และวาดภาพประกอบ
ช่วงท้ายครูให้พี่ๆดูคลิปเพลงเกี่ยวกับกบกินเดือน
สิ่งที่ได้เรียนรู้
สังเกตการทำจิตศึกษา
เริ่มรู้จังหวะการทำ ได้ช่วยและเรียนรู้ขั้นตอนการเริ่ม กิจกรรม และการสรุป ได้เรียนรู้การสอนของครูแป้ง
ในการอ่านนิทาน พาอ่านเป็นย่อหน้า แล้วสรุปเป็นย่อยๆ
ทำให้พี่ๆเข้าใจมากกว่าการอ่านที่เดียวหมด แล้วค่อยมาสรุปทีหลัง
ได้เห็นเทคนิคการสอนของครูแป้ง ในหลายๆเรื่อง เช่น เล่าเรื่องก่อนนำอ่านนิทาน
อ่านซ้ำคำที่อ่านยาก การกำหนดเวลาที่แน่นอน
เป็นต้น ยิ่งสังเกตยิ่งได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆอีกเยอะ
วันพฤหัสบดีมีผู้ปกครองอาสามาช่วยกันทำโรงเรือนสำหรับเพาะต้นทานตะวันอ่อน ผู้ปกครองช่วยกัน
และพี่ๆก็ได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำต่างๆด้วย
และได้เรียนรู้ถ้าวันที่กิจกรรมนำน่าสนใจ พี่ๆก็จะตั้งใจเรียนด้วย
ดังนั้นจะต้องหากิจกรรมที่ดึงดูดและน่าสนใจ สามารถเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาได้
มาเป็นการเริ่มในการสอนในแต่ละครั้ง
ปัญหาที่พบ
การใช้คำถามของครูยังไม่ชัด
และกระฉับ ยังมีความกลัวว่าจะใช้คำถามแบบนี้ดีไหม ใช้แล้วจะถูกกหรือเปล่า
คำพูดต่างๆก็เหมือนกัน พยายามปรับให้ช้าลง และเป็นตัวของตัวเองอยู่ เรื่องท่าทางการแสดงออกต้องปรับให้เข้ากับสถานการณ์
และปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้คือ เวลา ยังจัดการเวลายังไม่ลงตัว ชงนานเกินไป
ทำให้เวลาในการทำกิจกรรมและทำงานน้อย ยังไม่ได้นำเสนอและแชร์ร่วมกันเลย
บ้างคาบต้องต่อวันต่อไป เป็นสิ่งที่ต้องแก้ และพยายามต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น