Week7

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำควบกล้ำ แยกคำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้ได้  สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๗ – 
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก ตอน ยักษ์ขี้โมโห
หลักภาษา  : คำควบกล้ำแท้,คำควบกล้ำไม่แท้
Key Questions :
- ทำไมเด็กๆถึงชอบฟังนิทานแล้วชอบฟังนิทานประเภทไหนกันบ้าง
 นักเรียนจะเขียน และใช้คำควบกล้ำอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำควบกล้ำแท้,คำควบกล้ำไม่แท้
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
บัตรภาพคำควบกล้ำ
- นิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา

วันจันทร์
ชง : - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการพูดเสียงดังเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร” 
      - ครูอ่านนิทานสระสนุก ตอน ยักษ์ขี้โมโห ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน 
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  เขียนคำศัพท์สระ เอะ ลงในสมุดบันทึก พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
                           วันอังคาร
ชง :  ครูให้นักเรียนดูบัตรภาพเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน พร้อมกับบัตรคำที่เป็นคำควบกล้ำ พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำภาพและคำเหล่านี้ มาทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้าที่พบเจอในชีวิตประจำวัน และการนำคำควบกล้ำไปใช้ ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนแต่งนิทานจากบัตรภาพและบัตรคำที่ตนเองเลือกพร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ
ชง :  จับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๒ กลุ่ม เล่นเกมใบ้คำจากบัตรภาพที่ครูกำหนดให้ (คำควบกล้ำ)

เชื่อม :  - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำที่ใช้ในการเล่นเกม และนักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่คำควบกล้ำแท้ – คำควบกล้ำไม่แท้
         - นักเรียนเขียนคลังคำศัพท์เป็นของตนเอง(คำควบกล้ำ)
วันพฤหัสบดี
ชง : จับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๔ กลุ่ม ครูนำนิทานอีสป ๔ เรื่อง มาให้นักเรียนค้นหาคำควบกล้ำในนิทานจำนวน  คำ 
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ – คำควบกล้ำไม่แท้ที่แต่ละกลุ่มหาเจอจากนิทานอีสป
ใช้ :  นำคำควบกล้ำที่ได้มาเขียนการ์ตูน ๓ ช่อง
วันศุกร์
ชง : - นักเรียนนำเสนองานการ์ตูนช่องของตนเอง 
        - 
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และผลงานที่ร่วมกันแชร์ของนักเรียน
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ(วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
แผนภาพความคิด
ใบงาน
สมุดคำศัพท์เล่มเล็ก
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำควบกล้ำ แยกคำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้ได้  สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม




ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
 





บันทึกหลังการสอน
            ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ป.๑ มีกิจกรรมทัศนศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้ บ้านหนองตาเข้ม อำเภอนางรอง ได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับผัก สมุนไพรพื้นบ้าน และเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นในสัปดาห์นี้ นอกจากอ่านนิทาน และลงหลักภาษาแล้ว พี่ๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรนานาชนิด เชื่อมโยงกับภาษาไทยโดยครูจะหาคำศัพท์ที่เป็นคำควบกล้ำที่มีชื่อผัก และสมุนไพรมาสอนพี่ๆด้วย กิจกรรมที่ลงหลักภาษาในสัปดาห์นี้ ก็จะมีให้พี่ๆเดินเขียนคำศัพท์คำควบกล้ำที่ครูติดอยู่รอบๆห้อง แล้วลองสังเกตคำ และช่วยกันสะกด อ่านออกเสียงคำเหล่านั้น ครูลองชงโดยใช้คำถามกับพี่ๆหลายๆคำถาม แต่พี่ๆก็ยังไม่รู้ว่าคำเหล่านี้คือคำอะไร แต่จะออกเสียงควบสะกดได้ถูก แต่ยังบอกไม่ได้ว่าคือคำอะไร และอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ เล่นเกมบิงโกคำควบกล้ำ พี่ๆสนุกสนานกันมาก หลังเล่นเสร็จก็ให้พี่ๆออกมาเติมคำที่ครูติดไว้บนกระดานให้สมบูรณ์ เช่น ป_า ,ตะไ_ _ ,มะ_ _ าว เป็นต้น และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เนื่องจากเวลาไม่พอทำให้ไม่ได้ทำงาน ในสัปดาห์นี้จะให้พี่ๆเน้นเรื่องการอ่านและฝึกเขียน อยากให้พี่ๆได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียนเยอะๆ เพราะพี่ๆยังมีปัญหารื่องนี้อยู่เป็นส่วนใหญ่



ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถ อ่าน เขียนคำที่มี ฤ ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรร และคำที่ใช้ รร ได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๗ – 
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ตำนานแม่โขง
หลักภาษา
  :  คำที่มี ฤ ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรร ,คำที่ใช้ รร 
Key Questions : - ถ้านักเรียนนึกถึงน้ำ นักเรียนจะนึกถึงสิ่งใดได้บ้าง เพราะเหตุใด
นักเรียนสามารถเขียน และอ่านคำที่มี  ฤา ได้อย่างไร
การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Robin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำคำที่มี ฤ ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรร ,คำที่ใช้ รร ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- Blackboard  Share : คำศัพท์ที่มี ฤ ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรร ,คำที่ใช้ รร
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
บัตรคำ
- บทกลอน “บัน” , “บรร”
นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ตำนานแม่โขง

วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านนิทาน “ตำนานแม่โขง” โดยอ่านออกเสียง (อ่านพร้อมกัน  อ่านเรียง อ่านคนเดียว) และอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ
 : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
 : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ เป็นเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่ตอนจบใหม่
วันอังคาร
ชง ครูนำกลอนชวนจำตัว “บัน” และ “บรร” มาให้นักเรียนดูและอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่มี บัน บรร พร้อมใช้คำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากบทกลอนนี้บ้าง และเราจะนำคำเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างไร”
ใช้ : นำคำที่ได้มาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ และนักเรียนหาคำที่มี บัน บรร เพิ่มเติมจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวให้ได้มากที่สุด มาสร้างชิ้นงานตามความสนใจ (การ์ตูนช่อง นิทาน แต่งประโยควาดภาพ)
วันพุธ
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และให้นักเรียนสังเกตบัตรคำที่ครูเตรียมมา(คำที่มี รร และคำที่ใช้ บรร) พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ในคำเหล่านี้มีความเหมือนหรือต่างกันหรือไม่”
เชื่อม 
: ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำที่ใช้ รร ซึ่งมีความเหมือนหรือแตกต่างจากคำที่ใช้ บรร อย่างไร
ใช้ 
นักเรียนค้นหาคำที่ใช้ รร จากในนิทาน หนังสือ หรือสิ่งที่อยู่รอบๆตัว ให้ได้เยอะที่สุด แล้วเลือกคำมาแต่งเป็นเรื่องราวตามจินตนาการ
วันพฤหัสบดี
ชง : จับสลากแบ่งกลุ่มให้นักเรียนหาคำที่มี ตัว ฤ ,ฤๅ จากในนิทานที่ครูเตรียมไว้ให้ 
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกตตัว ฤ ฤๅ และการนำตัว ฤ ฤๅ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมนำคำศัพท์ที่ได้นำไปแต่งประโยคลงสมุดบันทึก

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งคำที่มี ฤ ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรร ,คำที่ใช้ รร ให้นักเรียนเลือกสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนเองเข้าใจ หรือสรุปรวมทั้งหมดตามที่ตนเองสนใจ(วาดภาพนิทาน ความเรียง การ์ตูนช่อง ฯลฯ)
ภาระงาน
การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
การแสดงบทบาทสมมติ เหตุการณ์ที่จำนำไปสู่ตอนจบใหม่
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมอักษรนำ
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
งานจากคำที่ใช้ บัน , บรร
- เรื่องราวเกี่ยวคำที่มี รร
- ประโยคจากคำที่มี ฤ ฤๅ
- สรุปคำที่มี ฤ ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรร ,คำที่ใช้ รร ตามที่ตนเองสนใจ(วาดภาพ นิทาน ความเรียงการ์ตูนช่อง ฯลฯ)

ความรู้ เข้าใจและสามารถ อ่านเขียนคำที่มี  ฤา ,คำที่ใช้ บัน บรรc]tคำที่ใช้ รร ได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูรวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มีมารยาทในการฟังและการพูด





ตัวอย่างภาพกิจกรรม

ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
    


บันทึกหลังการสอน

            ในสัปดาห์นี้จะสอนควบคู่กับครูยุ้ย พี่ๆได้เรียนรู้หลักภาษาเกี่ยวกับเรื่อง คำที่ใช้ บัน ,บรร และ รร หัน ทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด  สัปดาห์นี้พี่ๆอ่านนิทานเรื่อง ตำนานแม่น้ำโขง ครูยุ้ยเล่าเรื่องเกี่ยวกับแม่น้ำในหมู่บ้าน ก่อนที่จะให้พี่ๆอ่านนิทาน แล้วให้พี่ๆเขียนเรื่องและตอนจบใหม่ วันที่ลงหลักภาษา ครูแป้งให้พี่ๆอ่านทบทวนกลอนช่วยจำคำ บัน แล้วช่วยกันนับว่ามีคำบันกี่คำ และครูยุ้ยเพิ่มเติมเปิดคลิปคำ บรร ให้พี่ๆดู แล้วให้พี่ๆช่วยเขียนคำศัพท์ที่รู้จักทั้งคำบัน และบรร และอีกกิจกรรมให้พี่ๆช่วยเรียงคำให้สมบูรณ์ โดยครูจะเตรียมคำศัพท์ที่มีคำ รร ทั้งมีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกดผสมกัน ให้พี่ๆแต่ละคนช่วยเรียง และออกมาเขียนแชร์ร่วมกัน เนื่องจากเวลาไม่พอครูยุ้ยจึงสอนเพิ่มและให้งานในช่วงเวลาว่าง ในการสรุปให้พี่ๆสรุปเป็นการ์ตูนช่อง โดยในนิทานต้องมีคำที่มี บัน ,บรร และ รร อย่างน้อย ๑๐ คำในนิทาน ในสัปดาห์นี้พบเจอปัญหาเรื่องการเขียนของพี่ๆ บางคนเขียนผิด บางคนเขียนคำที่ไม่มีความหมาย ดังนั้นตอนที่เขียนแชร์ร่วมกันจึงให้พี่ๆช่วยกันตรวจคำ และแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ก็ยังได้ไม่หมด เพราะงานในสมุดก็มีหลายคำที่ยังผิด และไม่มีความหมายอยู่

 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
            ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.๑ ได้ไปทัศนศึกษาที่หมู่บ้านหนองตาเข้ม เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และสมุนไพร ในหมู่บ้านนี้ บ้านทุกหลังจะปลูกไม้ผลที่กินได้ และสมุนไพรต่างๆ ได้เห็นสมุนไพรที่ไม่เคยเห็นหลายๆชนิด เป็นความรู้ใหม่ๆ พี่ๆ ได้ลองทำยาแก้ปวดฟันเอง และได้เดินสำรวจ เรียนรู้สมุนไพรต่างๆ รวมทั้งสิ่งต่างๆที่อยู่ในหมู่บ้าน นอกจากสมุนไพรก็มีการทำก๊าซชีวภาพเอง โรงเลียงไก่ เลี้ยงจิ้งหรีด โรงน้ำดื่ม วันนี้พี่ๆ และครูได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเยอะเลย ทั้งยังได้ยาแก้ปวดฟันมาลองใช้อีก ในวันพฤหัสบดีมีพี่ๆศานติมาแสดงละครเกี่ยวกับการป้องกันยุง การดูแลรักษา และการรับมือกับยุงในช่วงนี้ พี่ๆแสดงได้สนุกและได้สาระดีๆด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดี พี่ๆ น้องๆ ได้ร่วมแสดงร่วมกัน ส่วนปัญหาในสัปดาห์นี้ ยังคงเป็นเรื่องเดิม คือพี่ๆบางคนยังจำสระ และอ่านหนังสือยังไม่ได้มากนัก พยายามให้พี่ๆ ฝึกอ่าน เวลาว่างๆ ก็ให้หยิบหนังสือมาอ่านกับครู แต่ก็มีที่ไม่ชอบอ่าน ไม่ชอบเขียน คงต้องหาวิธีต่อไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น