Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนสระคงรูป สระลดรูป และสระแปลงรูป/สระเสียงสั้น เสียงยาวได้ สามารถนำมาแต่งประโยค เขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๓๐  ๓
มิ..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : อ่านนิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับไม้เท้าวิเศษ
หลักภาษา  : สระคงรูปสระลดรูป และสระแปลงรูป/สระเสียงสั้น เสียงยาว
Key Questions :
เพราะเหตุใด ทำไมคำบางคำมีทั้งรูปและเสียง บางคำมีแต่เสียงไม่มีรูปปรากฏ
 - นักเรียนจะรู้ว่าคำใดใช้สระคงรูป ลดรูป แปลงรูปได้อย่างไร สังเกตจากสิ่งใด
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทานและสระในภาษไทย
- Show and Share : นำเสนอจรวดสระลดรูป
พฤติกรรมสมอง 
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
บัตรคำ
ไม้เท้าสระ อี
กระดาษ
นิทานสระสนุก ตอนแมวน้อยกับไม้เท้าวิเศษ

วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับไม้เท้าวิเศษให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
วันอังคาร
ชง ครูนำบัตรคำมาให้นักเรียนดูและอ่านออกเสียงคำนั้น
      - เล่นเกมสะกดคำ โดยครูแจกบัตรคำพยัญชนะให้นักเรียนทุกคน แล้วครูจะใช้ไม้เท้าสระ อี ชี้ไปที่ใครให้สะกดคำแล้วบอกว่าคำนี้อ่านว่าอะไร แล้วมีความหมายหรือไม่
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ และสระทั้งหมดในภาษาไทย(เสียงสั้น เสียงยาว)
ใช้ : นักเรียนเขียนแยกสระเสียงสั้น / สระเสียงยาวลงในสมุด
วันพุธ
ชง ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น  กลุ่มให้แต่ละกลุ่มเลือกสระเป็นของกลุ่มตนเองเช่น  ,- , - ,- ,ฯลฯ
ให้แต่ละกลุ่มออกมาเขียนคำศัพท์ตามสระที่กลุ่มตนเองเลือกให้ได้มากที่สุด
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากการเล่นเกม
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์จากสระที่ตนเองเลือกลงในสมุด
วันพฤหัสบดี
ชง :  นักเรียนเขียนตามคำบอก ๑๐ คำจากในนิทาน เรื่องแมวน้อยน้อยกับไม้เท้าวิเศษ
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบที่เขียนตามคำบอก
ใช้ : นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่เขียนมาแต่งประโยค
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ

ภาระงาน
การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
- เขียนแยกสระเสียงสั้น-เสียงยาว
เขียนคำศัพท์จากสระที่เลือก
แต่งประโยค
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ เข้าใจและสามารถอ่านและเขียนสระคงรูป สระลดรูป และสระแปลงรูป/สระเสียงสั้น เสียงยาวได้รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน





ตัวอย่างภาพกิจกรรม






ตัวอย่างผลงาน




บันทึกหลังการสอน
อาทิตย์นี้พี่ๆ ได้อ่านนิทาน ๒ วัน คือวันจันทร์ ให้อ่านออกเสียงตามครูทีละวรรค มีพี่ๆที่สนใจและตั้งใจอ่าน มีอ่านตามเพื่อนบ้าง และยังมีพี่ที่อ่านสะกดคำยังไม่ได้ ดังนั้นครูจึงเพิ่มการอ่านอีกวันคือวันศุกร์ ในวันนี้ครูให้พี่ๆแยกเป็นสองกลุ่มในการอ่าน เพื่อที่ครูจะได้รู้ว่าพี่ๆแต่ละคนสามารถอ่านได้ประมาณไหน ปัญหาในการอ่านที่พบคือ พี่ๆบางคนยังอ่านสะกดคำไม่ได้ ครูต้องสะกดให้แล้วให้พี่ออกเสียงตาม มีพี่ที่อ่านได้แต่ช้า และมีที่อ่านได้คล่อง ในเรื่องการทำงานก็เช่นกัน มีทำเสร็จตามเวลาที่ครูกำหนด และช้าจนเลยเวลา ต้องทำต่อในเวลาที่ว่างแทนให้เสร็จ จากการสังเกตพี่ๆทำได้ เขียนได้แต่ยังห่วงคุย ห่วงเล่นอยู่ วันอังคารครูนำสระเสียงสั้น-เสียงยาวมาให้พี่ๆดู พร้อมกับออกเสียงให้ฟัง ให้พี่ๆลองสังเกตการออกเสียงของครูให้ชัดเจน มีพี่ๆตอบว่า “เสียงสระอะคะ”, “เสียงกว้างค่ะ” ครูออกเสียงอีกหลายๆครั้งจนมีพี่ที่ตอบตรงและใช่ พี่แก้ม “สระเสียงสั้น-สระเสียงยาวค่ะ” จากนั้นให้พี่ๆเลือกสระคนละ ๑ สระ แล้วบอกว่าตัวเองได้สระเสียงสั้นหรือเสียงยาว แบ่งเป็นสองฝั่งแข่งการออกเสียงสระให้ถูกต้อง พี่ๆสนุกกับกิจกรรมนี้มาก จากนั้นให้พี่ๆเขียนตารางสระเสียงสั้น – เสียงยาวลงในสมุด วันพุธให้นั่งตามกลุ่มแล้วแต่ละกลุ่มช่วยกันเลือกสระที่ชอบ ครูเขียนไว้บนกระดานจนครบทุกกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มออกมาเขียนคำศัพท์ตามสระของกลุ่มตนเองให้ได้มากที่สุด ครูและนักเรียนตรวจคำตอบและออกเสียงคำที่เขียน พร้อมเติมคำให้มีความหมายมากขึ้น ให้งานเขียนแบ่งที่เล่นเกม แต่ให้พี่ๆเติมคำเอง เพราะครูลบคำที่อยู่บนกระดานออกหมด วันพฤหัสสบดีครูไม่อยู่ฝากงานครูแดงไว้ วันศุกร์ให้อ่านนิทานทีละคน 

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านจับใจความสำคัญได้ เข้าใจและสามารถอ่านและเขียน แยกแยะอักษรสามหมู่,การผันอักษร,คำเป็นคำตาย และนำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome

๓๐ – 
มิ.ย.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ
หลักภาษา
  :  อักษรสามหมู่,การผันอักษร,คำเป็นคำตาย
Key Questions : นักเรียนคิดว่าการมองเพียงรูปลักษณ์ภายนอกจะส่งผลอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
นักเรียนรู้จักของสิ่งนี้หรือไม่ ของสิ่งนี้ใช้ทำอะไร แล้วเราสามารถใช้ของสิ่งนี้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหรือไม่
อักษรสามหมู่เกี่ยวข้องกับการอ่าน การเขียน หรือสามารถนำไปใช้อย่างไร
นักเรียนคิดว่าจะจัดหมวดหมู่บัตรคำเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด : - Blackboard Share คำศัพท์คำเป็น คำตาย
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้
 - Round Robin :
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอักษรสามหมู่,การผันอักษร และคำเป็นคำตาย
พฤติกรรมสมอง 

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
VDO อักษรสามหมู่
บัตรคำ(คำเป็น คำตาย)
นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ
วันจันทร์
ชง : อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ
 : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจโดยเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
วันอังคาร
ชง ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าพยัญชนะไทยสามารถแบ่งเป็นกี่พวก แบ่งได้อย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับอักษรสามหมู่ที่สอดคล้องกับคำเป็นคำตาย และการนำไปใช้
ใช้ สร้างตารางผันอักษรสามหมู่
วันพุธ
ชง ครูนำตารางผันวรรณยุกต์มาให้นักเรียนดู พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรเพิ่มเติมจากตารางผันวรรณยุกต์นี้บ้าง”
เชื่อม ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการผันวรรณยุกต์ในอักษรสามหมู่
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูนำแผงไข่มาให้นักเรียนดู พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้จักของสิ่งนี้หรือไม่ ของสิ่งนี้ใช้ทำอะไร แล้วเราสามารถใช้ของสิ่งนี้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหรือไม่”      
เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำแผงไข่ไปใช้
         - ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยผันอักษร (แผงไข่ ป้ายวรรณยุกต์ ดินน้ำมัน กระดาษ)

ใช้ นักเรียนแบ่งกลุ่มจำนวน ๕ กลุ่ม ทำแผงไข่ผันอักษร จากนั้นให้นักเรียนหาคำศัพท์ในนิทานจำนวน ๕ คำ นำมาผันอักษร และเลือกคำที่มีความหมายมาแต่งประโยคลงสมุดบันทึก
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?”  
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ(นิทาน การ์ตูน ความเรียง แผนภาพความคิดฯลฯ)
ภาระงาน
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การจัดหมวดหมู่ตารางอักษรสามหมู่,คิดคำช่วยจำอักษรสามหมู่แต่ละหมู่
การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
ชิ้นงาน
การ์ตูนช่อง
แต่งประโยคเกี่ยวกับการผันตัวอักษร
ตารางผันอักษรสามหมู่
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (นิทาน การ์ตูนความเรียง แผนภาพความคิดฯลฯ)

ความรู้ นักเรียนสามารถอ่านจับใจความสำคัญได้ เข้าใจและสามารถอ่านและเขียน แยกแยะอักษรสามหมู่,การผันอักษร,คำเป็นคำตาย และนำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มีมารยาทในการฟังและการพูด





 ตัวอย่างภาพกิจกรรม






ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
สรุปแผนภาพโครงเรื่อง "ท้าวก่ำกาดำ"
เขียนคำช่วยจำเรื่องอักษรสามหมู่

นิทานวรรณยุกต์




บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้ ให้พี่ๆอ่านนิทานเรื่อง ท้าวก่ำกาดา ก่อนเริ่มอ่านครูแป้งเกริ่นนำให้เกี่ยวกับหนังสือประเภทต่างๆ พี่ๆเคยอ่านหนังสือแบบไหนมากันแล้วบ้าง สนทนาร่วมกันก่อนโยงเข้าเรื่องที่จะให้พี่ๆอ่าน ให้พี่ๆอ่านนิทานโดยอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน ส่วนใหญ่จะอ่านได้ มีบ้างส่วนที่ต้องค่อยๆอ่าน ให้อ่านทีละย่อหน้าหรือตามสมควรแล้วสรุป ใช้คำถาม เกิดอะไรขึ้น ในเหตุการณ์เขาทำอะไรบ้าง ถ้ามีคำศัพท์ใหม่ หรือคำที่นักเรียนไม่รู้จักครูก็จะพาทวนอีกครั้ง ถามถึงความหมาย พี่ๆคิดว่าคำนี้มีความหมายอย่างไร และเขียนคำไว้บนกระดาน วันนี้พี่ๆอ่านช่วยกันช้า ครูแป้งเลยอ่านให้บ้างส่วน แล้วให้พี่ๆอ่านเองในช่วงท้ายๆ ก่อนให้ทำงานครูขอข้อคิดคนละหนึ่งข้อ แล้วให้สรุปเป็นแผนภาพโครงเรื่อง วันอังคาร ครูทบทวนเรื่องอักษรสามหมู่ ในภาษาไทยจะแบ่งพยัญชนะเป็นกี่พวก อะไรบ้าง ครูช่วยอธิบายในเรื่องการผันวรรณยุกต์ในอักษรแต่ละหมู่ เพิ่มเติมให้พี่ๆลองจำอักษรสามหมู่เป็นคำ เช่น อักษรกลาง : ไก่จิกเด็กตายเด็กตายบนปากโอ่ง สอนยังไม่ครบเหลืออักษรต่ำ ให้พี่ๆไปหาเพิ่มเติมเอง และให้งานเป็นการเขียนคำช่วยจำเกี่ยวกับอักษรสามหมู่ให้เขียนคำเป็นของตนเอง วันพุธครูนำตารางการผันวรรณยุกต์มาให้นักเรียนดู ทบทวนเรื่องวรรณยุกต์ในภาษาไทย และการผันวรรณยุกต์ในแต่ละหมู่ ในช่วงวันแรกๆพี่ๆไม่รู้จักวรรณยุกต์ แต่รู้ว่าตัวนี้คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา ตอนนี้พี่ๆเริ่มเข้าใจมากขึ้น เห็นภาพมากขึ้นจากตาราง ครูแป้งเข้ามาช่วยอธิบายการผันวรรณยุกต์ และครูเพิ่มเติมนิดหน่อย วันพฤหัสบดีครูฝากงานไว้ ให้พี่ๆแบ่งกลุ่มทำแผงไข่ช่วยผันวรรณยุกต์ วันศุกร์ทบทวนกิจกรรมและสิ่งที่เรียนรู้ทั้งสัปดาห์ แล้วให้สรุปสิ่งที่เรียนรู้หรือแต่งนิทานเรื่องการผันวรรณยุกต์เป็นความเรียงแล้ววาดภาพประกอบ หรือทำเป็นการ์ตูนช่องก็ได้ ครูให้เวลาในการทำงานเยอะ แต่ก็มีที่ยังทำไม่เสร็จ แต่พี่ๆเอากลับไปทำต่อที่บ้านได้ บ้างครั้งงานก็ลืมเขียนชื่อ ทำให้ครูตามงานลำบาก

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
            ได้ลองทำจิตศึกษาเองเป็นครั้งแรก เป็นการแปรงร่างตัวอักษรภาษาอังกฤษ แปรงเป็นรูปอะไรก็ได้ที่พี่ๆอยากให้เป็น และเราจะได้การเชื่อมโยงทางภาษาของพี่ๆด้วย เริ่มแรกครูทำ Brain Gym 3 ท่า โดยนับทีละ 10 เป็นครั้งแรกที่ทำเอง มีผิดบ้าง ถูกบ้าง สลับกันไป ครูนำภาพอักษรที่ครูแปรงร่างแล้วให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง พร้อมอธิบายว่าเป็นภาพอะไร  จากนั้นเริ่มส่งตะกร้าที่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งตัวพิมพ์เล็ก และตัวพิมพ์ใหญ่ และกระดาษเปล่า ให้พี่ๆหยิบมาตัวหนึ่งพร้อมกระดาษ และดินสอ เริ่มลงมือแปรงร่างตัวอักษรของตัวเอง สิ่งที่ผิดพลาดคือ ครูไม่ได้กำหนดเวลาให้ เกิดความวุ่นวายเล็กน้อย และทำให้เวลาในการแชร์เรื่องราวร่วมกันไม่พอ ครูจึงสุ่มพี่ๆนำเสนอชิ้นงานของตัวเองประมาณ 3 คน จากผลงานของพี่ๆทำให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ และการจินตนาการที่กว้างไกลของพี่ๆ ปัญหาที่พบในการทำจิตศึกษาครั้งแรก คือ ครูยังตื่นเต้น สมองโล่ง คิดคำถามไม่ทัน จะเห็นที่นิ่งไปนานๆ คือคิดคำพูดไม่ได้ เวลาดูมันเหมือนง่าย แต่พอทำจริงๆ ปัญหาเกิดมากมาย ลืมกำหนดเวลา และเก็บอุปกรณ์อื่น ทำให้เกิดปัญหาเก็บเด็กไม่อยู่ ใช้เวลานานเกินไป จากการทำจิตศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้รู้ปัญหา จุดบกพร่องของตนเอง และการคิดวิธีแก้ไขในการทำครั้งต่อไป

            ได้ไปสังเกตการทำจิตศึกษาของ ป.4 ครูน้ำให้พี่ๆฟังเพลง แล้วให้พี่ๆเขียนความรู้สึก,คำสามคำ และสุดท้ายวาดภาพออกมาจากทั้งหมดที่ได้เขียน สุดท้ายให้แชร์ร่วมกัน และมีอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชอบคือกิจกรรมคู่ขนานที่ให้พี่ๆได้การเรียนรู้เอง ได้ลงมือปฏิบัติเอง การเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กในวัยนี้ชอบอยู่แล้ว พี่ๆได้เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มหาอุปกรณ์สร้างโรงเพาะ การประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้าง ร่วมถึงการเตรียมดินเอง ผสมเอง ได้เพาะเมล็ดทานตะวันอ่อน และได้รถน้ำเอง ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจจากสิ่งที่เขาลงมือทำเอง จนได้ผลผลิตที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวครูเองก็เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก เพราะครูไม่เคยเพาะเมล็ดทานตะวันอ่อนเหมือนกัน  

กิจกรรมจิตศึกษาของพี่ๆ ป.4


พี่ๆช่วยกันขนบล็อก

กิจกรรมคู่ขนาน "เพาะต้นทานตะวันอ่อน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น