Week8

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

Week
Input
Process
Output
Outcome
๔ – 
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา
หลักภาษา  :  มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา
Key Questions :
- ทำไมเด็กๆถึงชอบฟังนิทานแล้วชอบฟังนิทานประเภทไหนกันบ้าง
 นักเรียนจะเขียน และสะกดคำให้ถูกต้องได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำควบกล้ำแท้,คำควบกล้ำไม่แท้
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
- Show and Share : นำเสนอคลังคำศัพท์
พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
- บัตรคำ
- นิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนา

วันจันทร์
ชง : - ครูนำบัตรภาพที่เกี่ยวกับนิทานมาให้นักเรียนสังเกต พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่านิทานเกิดจากอะไร ทำไมต้องเล่านิทาน” 
      - ครูอ่านนิทานกินหาง ตอน กระท่อมปลายนาให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน 
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  แต่งนิทานใหม่ตามจินตนาการต่อจากผู้เฒ่า(ผู้เฒ่าจะเล่าเรื่องอะไร) พร้อมวาดภาพประกอบ
                           วันอังคาร
ชง : - ครูให้บัตรคำ(แม่ ก กา)นักเรียนคนละใบพร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้ มีความเหมือน – ต่างกันอย่างไร สามารถจัดหมวดหมู่ได้หรือไม่”
       - นักเรียนจับกลุ่มนำคำที่ได้มาเรียงต่อเป็นประโยค
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับประโยคที่นักเรียนนำคำมาต่อกัน นักเรียนใช้หลักอะไรในการเรียงคำให้เป็นประโยค ดูจากอะไร ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนเขียนประโยคที่เรียงกันสมบูรณ์ลงในสมุดบันทึก
วันพุธ
ชง :  ครูให้นักเรียนเขียนตามคำบอก(คำพื้นฐานที่คำในมาตราตัวสะกดตรงมาตรา) จำนวน ๑๐ คำ
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบ โดยให้นักเรียนเขียนคำที่ถูกต้องไว้ด้านหลังคำที่เขียนผิด 
        - นักเรียนจัดหมวดหมู่คำที่เขียนเป็น คำที่สะกดด้วย ง , ม , ย และ ว        
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูเขียนประโยคที่ไม่สมบูรณ์ไว้บนกระดาน แล้วนำบัตรคำที่เป็นคำตอบวางกระจายไว้รอบๆห้องเรียน
      - 
นักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกม ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนหาคำตอบที่อยู่รอบๆ ห้องเรียน ครั้งละ ๑ คน ทำไปเรื่อยๆ จนครบประโยค
เชื่อม :  ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมเติมประโยค และตรวจคำที่ถูกต้องพร้อมๆ กัน  
ใช้ : นักเรียนทำใบงานเรียงประโยค โดยครูแยกเป็นคำๆ ให้นักเรียนนำมาเรียงใหม่เอง ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ แยกเป็นคลังคำของตนเอง โดยแยกเป็นคำที่สะกดด้วย แม่กง ,แม่กม ,แม่เกย และแม่เกอว ลงในกระดาษตัวหนอนที่ครูแจกให้
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
นิทานตอนจบใหม่
คลังคำศัพท์ตัวสะกดที่ตรงมาตรา
- ใบงานเรียงประโยค

ความรู้ เข้าใจและสามารถเขียน อ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้อย่างถูกต้องรวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม














ตัวอย่างภาพชิ้นงาน








บันทึกหลังการสอน 
สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านนิทานเล่มใหม่ พี่ๆให้ความสนใจมาก หลังจากอ่านเสร็จ จึงให้พี่ๆวาดหน้าปกเป็นของตนเอง จริงๆแล้วสัปดาห์นี้จะต้องลงเรื่องมาตราตัวสะกดที่ตรงมาตรา แต่ยังไม่สามารถลงได้ เลยให้พี่ๆเรียนรู้ และเขียนคำศัพท์จากสิ่งที่อยู่รอบๆตัว อย่างวันพุธ พี่ๆได้ไปเก็บต้นอ่อนทานตะวัน ก็ให้พี่ๆเขียนว่าทานตะวันมีประโยชน์อย่างไร ดูแลอย่างไร และสามารถแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ในวันพฤหัสบดีได้นิทานเรื่องใหม่มาพอดี เลยให้อิสระพี่ๆอ่านด้วยตัวเอง แล้วให้พี่ๆออกมาวาดหรือเขียนตัวละครที่อยู่ในเรื่อง วันศุกร์ให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ที่มีตัวพยัญชนะ ม ง ย ว จากสิ่งที่อยู่รอบๆตัว ให้อิสระจะเขียนข้างนอกหรือข้างในก็ได้ แล้วมาแชร์ร่วมกันบนกระดานอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการสอนอาจจะไม่ได้ตามแผนทุกอย่าง แต่พยายามให้มีบ้าง เน้นการอ่านและเขียนพื้นฐานๆก่อน


ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถ อ่าน เขียนคำที่มี ฤ ฤา และตัวการันต์ได้ สามารถแยกลักษณะการนำไปใช้ และสามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
๔ – 
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานชาวบ้านเรื่อง นินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
หลักภาษา
  :  คำที่มี ฤ ฤา , ตัวการันต์
Key Questions : - นักเรียนคิดว่าการพูดถึงคนอื่นลับหลัง จะส่งผลอย่างไร
นักเรียนสามารถเขียน และอ่านคำที่มี  ฤา ได้อย่างไร
- คำที่มีตัวการันต์สามารถจัดเป็นหมวดหมู่จากอะไรได้บ้าง
การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Robin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำคำที่มี ฤ ฤา ,ตัวการันต์
- Blackboard  Share : คำศัพท์ที่มี ฤ ฤา ,ตัวการันต์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
บัตรภาพ
บัตรคำ
นิทานชาวบ้าน เรื่อง นินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านนิทาน “นินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน” โดยอ่านออกเสียง (อ่านพร้อมกัน  อ่านเรียง อ่านคนเดียว) และอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ
 : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
 : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯใช้ : นักเรียนแบ่งกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างสรรค์
วันอังคาร
ชง - ครูนำตารางอักษรไขว้(คำที่มี ฤ ฤา) วางในวงกลม แล้วให้นักเรียนช่วยกันสังเกตคำในตาราง แล้วให้นักเรียนออกมาวงคำที่มีตัว ฤ ฤๅ ทั้งหมดที่มีในตาราง
      - ครูเปิดคลิปเพลง ฤ ฤๅ ให้นักเรียนดู
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำที่มีตัว ฤ ฤๅ ความหมาย และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้ : นักเรียนนำคำศัพท์ที่ได้จากตารางมาแต่งเป็นเรื่องราวตามจินตนาการ
วันพุธ
ชง : ครูนำบัตรคำติดบนกระดาน ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในคำเหล่านี้ สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้หรือไม่”
- จับสลากแบ่งกลุ่มนักเรียน แล้วให้แต่ละกลุ่มจัดหมวดหมู่บัตรคำตามความเข้าใจ
เชื่อม 
: ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอ และตรวจสอบคำให้ถูกต้อง
ใช้ 
: ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานของตนเอง
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา แล้วให้นักเรียนแต่ละคนคิดคำการันต์ที่ตนเองรู้จัก เขียนไว้บนกระดาน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการันต์ที่เราเขียนไว้ สามารถแบ่งเป็นอะไรได้บ้าง นอกจากแยกเป็นตัวอักษร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องลักษณะของตัวการันต์ และการนำไปใช้ จากนั้นแบ่งกลุ่มให้นักเรียนช่วยกันหาตัวการันต์จากบทความสั้นๆที่ครูเตรียมมา

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งคำที่มี ฤ ฤๅ และตัวการันต์
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งคำที่มี ฤ ฤา และตัวการันต์ ให้นักเรียนเลือกสรุปตามที่ตนเองสนใจ(วาดภาพ นิทาน ความเรียงการ์ตูนช่อง ฯลฯ)
ภาระงาน
การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
การแสดงบทบาทสมมติ เหตุการณ์ที่สร้างสรรค์
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมอักษรนำ
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- เรื่องราวจากคำที่มี ฤ ฤๅ
- สรุปคำที่มี ฤ ฤา ,ตัวการันต์ ตามที่ตนเองสนใจ(วาดภาพนิทาน ความเรียง การ์ตูนช่อง ฯลฯ)

ความรู้ เข้าใจและสามารถ อ่านเขียนคำที่มี  ฤา และตัวการันต์ได้ สามารถแยกลักษณะการนำไปใช้ และสามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มีมารยาทในการฟังและการพูด




ตัวอย่างภาพกิจกรรม






ตัวอย่างชิ้นงาน




 






บันทึกหลังการสอน 
สัปดาห์นี้พี่ๆได้เรียนรู้ เรื่อง ฤ ฤๅ และตัวการันต์ ให้อ่านนิทานวันอังคาร แล้วเขียนความรู้สึกว่ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการนินทา ส่วนเรื่อง ฤ ฤๅ นำตารางอักษรไขว้มาให้พี่ๆสังเกต และช่วยวง พี่ๆเริ่มรู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าจะเรียนเรื่องอะไร จากนั้นใช้คลิปช่วยสอนอีกที ให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ที่ตนเองรู้จัก ก่อนสอนเรื่องตัวการันต์ ให้พี่ๆดูบัตรคำที่ครูเตรียมมา พี่ๆตอบได้ว่าวันนี้เรียนเรื่องการันต์ แต่ยังไม่รู้ที่มาของตัวการันต์ว่ามาจากภาษาอะไร คำที่เอามาจะมาภาษาสันสกฤต และคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ จากนั้นให้พี่ๆเขียนตัวการันต์ขึ้นมาเอง คนละคำแล้วแชร์ร่วมกัน ให้เขียนคำของเพื่อนๆลงไปด้วย ครูแป้งให้การบ้านเขียนเรื่องราวจากคำศัพท์ที่มี ฤ ฤๅ และตัวการันต์ ส่วนวันสุดท้ายครูเพิ่มเติมเรื่องการันต์ให้ผ่านคลิป และให้พี่ๆทำงานที่ค้างทั้งสัปดาห์นี้ และสัปดาห์ที่แล้วให้เสร็จ สำหรับสัปดาห์นี้ตัวครูเองยังหากิจกรรมยังได้ไม่หลากหลาย ทำให้นักเรียนไม่สนใจเรียน จึงเกิดปัญหาคุมชั้นเรียนไม่อยู่ทั้งสัปดาห์


สิ่งที่ได้เรียนรู้
สำหรับสัปดาห์นี้ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับพี่ๆ หลายอย่าง ตั้งแต่การหาวัสดุที่จะใช้ทำงานประดิษฐ์จากธรรมชาติของตนเอง ครูก็ได้ร่วมหา และประดิษฐ์ไปพร้อมๆ กัน พี่ๆ แต่ละคนก็มีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันไป และอีกสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ คือการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน เกิดปัญหาราขึ้นเยอะมากในรอบนี้ เพราะครั้งนี้เราใช้ดินเก่าทำให้มีเชื้ออยู่ ราจึงขึ้นเยอะ รวมทั้งสัปดาห์ฝนตกทุกวัน ทำให้อากาศชื้นเกินไป แต่ผลผลิตรอบนี้ได้เยอะกว่าทุกครั้งที่ทำมา ครั้งต่อไปอาจจะลองเพาะอย่างอื่น หลังจากที่หยุดยาว และอีกอย่างที่ได้เรียนรู้ คือการทำจิตศึกษา สัปดาห์นี้ลองทำที่ห้องพี่ ป.๖ และพี่ๆ ป.๑ ทำของพี่ๆ ป.๖ ในวันอังคาร ทำเชื่อมโยงกับวิชาภาษาไทย ทำเรื่องเกี่ยวกับความฝัน เริ่มด้วยการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับความฝันของครู แล้วให้พี่ๆเขียนความฝันของตัวเอง และแชร์ความฝันร่วมกัน ปัญหาที่พบ คือตัวครูยังไม่มีกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนเบื่อเร็ว หรือไม่ดึงดูดความสนใจเท่าที่ควร ต้องหาทั้งวิธีการ และพัฒนาตนเองให้ได้เร็วที่สุด ปรับทุกวันเพื่อให้เหมาะกับนักเรียน วันนี้ดี วันต่อไปไม่ดี ก็หาวิธีใหม่ พยายามไปเรื่อยๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น