ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ สามารถอ่านและเขียนคำ - พยางค์ นำมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๔
๖ – ๑๐
มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : อ่านนิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยตะลุยโลกล้านปี
หลักภาษา : คำ พยางค์
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าการพูดคำที่มีความหมายและไม่มีความหมายสำคัญอย่างไร
- การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในแถบคำนี้บ้าง มีตัวใดที่หายไป หรือควรเติมอะไรลงไป
เครื่องมือคิด :
- Mind Mapping : สรุปโครงเรื่องนิทาน
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำ พยางค์
- พฤติกรรมสมอง
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่มีหลายพยางค์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- ใบงาน
- นิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยตะลุยโลกล้านปี
|
วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยตะลุยโลกล้านปี ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
วันอังคาร
ชง : - สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- นักเรียนเขียนตามคำบอก ๑๐ คำ จากในนิทาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก สังเกตพยางค์ในคำศัพท์ พร้อมแลกเปลี่ยนการสื่อความและการนำไปใช้
ใช้ : นักเรียนนำคำที่เขียนคำศัพท์ตามคำบอก ๕คำ แต่งประโยค พร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ
ชง : - ครูมีแถบคำที่ไม่สมบูรณ์มาให้นักเรียนดู ลองให้นักเรียนสังเกต พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในแถบคำนี้บ้าง มีตัวใดที่หายไป หรือควรเติมอะไรลงไป ”
- แบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม เล่นเกมเติมคำให้ถูกต้องจากชาร์ตคำที่ครูเตรียมไว้
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นเกม สังเกตคำและแยกพยางค์ในคำที่ใช้เล่นเกมได้
ใช้ : นักเรียนทำใบงานเกี่ยวคำ และการแยกพยางค์
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูทบทวนกิจกรรมที่นำเมื่อวานนี้ และให้นักเรียนอธิบายการสังเกตคำ และพยางค์อีกครั้ง
- ครูเขียนคำที่ประกอบไปด้วยพยางค์หลายพยางค์ไว้บนกระดาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ครูเขียนไว้ สามารถแยกคำเป็นอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ และการนำไปใช้
ใช้ : นักเรียนเลือกคำที่ครูเขียนมา ๕ คำ แล้วให้เขียนคำ คำอ่าน และบอกว่ามีกี่คำ กี่พยางค์
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”/ “การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
|
ภาระงาน
- การอ่านนิทานวิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การนำเสนอผลงานและทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- แผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
- ใบงาน
- แต่งประโยคจากคำทีเขียนตามคำบอก
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (นิทานความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำ และพยางค์ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
|
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
ตัวอย่างชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
ในสัปดาห์ที่ ๔ กิจกรรมหลักๆ ที่ให้พี่ๆทำในสัปดาห์นี้ ก็จะมี
การเขียนคำศัพท์ตามอิสระ,อ่านนิทาน,ทำการ์ดวันไหว้ครู,เขียนตามคำบอก และเล่นเกมต่อคำให้เป็นประโยค
การเขียนคำศัพท์ตามอิสระพี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวคำศัพท์ต่างๆ ที่อยู่รอบๆตัวเรา
กิจกรรมที่ทำวันนั้น
คือทำข้อตกลงกับพี่ๆก่อนว่าถ้าออกไปข้างนอกห้ามเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ให้อยู่ในบริเวณตึกประถม แล้วต้องเขียนคำศัพท์ที่ตัวเองรู้จักอย่างน้อง ๒๐
คำขึ้นไป กิจกรรมวันนั้นเป็นสิ่งที่เกินคาดมาก
ตอนแรกคิดว่าพี่ๆจะต้องเสียงดังแน่นอน ต้องวิ่งเล่นแน่ๆ
แต่ปรากฏว่าพี่ๆทำตามที่เราตกลงกันไว้ เขียนคำศัพท์อย่างตั้งใจ ไม่เสียงดัง
มีเล่นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ได้งานตามเป้าหมาย การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่ดี
สามารถเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น
เพราะเด็กในวัยนี้ไม่ชอบอะไรที่ต้องทำซ้ำๆ เขาจะเกิดอาการเบื่อหน่าย
ทำให้ไม่อยากที่จะเรียน ดังนั้นตัวครูเองก็ต้องหากิจกรรมที่เหมาะสม
และน่าสนใจเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของพี่ๆเสมอ การอ่านนิทานสัปดาห์นี้
ครูให้พี่ๆอ่านด้วยกันในวันจันทร์ และนำไปอ่านเป็นการบ้านในวันพุธ
เพิ่มข้อตกลงกับพี่ๆว่า ให้มาอ่านหนังสือกับครูทุกวัน
วันละเรื่องหรือหนึ่งหน้าสองหน้าก็ได้ แล้วครูจะเพิ่มแต้มพี่คนเก่งให้
มีพี่สนใจและตั้งใจมาอ่านกับครูทุกวัน เพื่อเป็นการฝึกอ่านให้คล่อง
และครูจะได้รู้ด้วยว่าเด็กอ่านได้มากน้อยเพียงไร สัปดาห์นี้มีวันสำคัญ คือ
วันไหว้ครู
ในวันพุธครูจึงให้พี่ๆช่วยกันเขียนการ์ดวันครูให้กับครูที่ตัวเองจับสลากได้
มีครูที่พี่ๆรู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง แต่พี่ๆก็สามารถสื่อออกมาด้วยภาพวาดได้
การเขียนตามคำบอกเป็นกิจกรรมของวันพฤหัสบดี ครูกำหนดคำที่ให้นักเรียนเขียนจากคำพื้นฐาน
ป.๑ ให้พี่ๆได้ลองเขียน เพิ่มทักษะการฟังด้วย พี่ส่วนใหญ่จะเขียนคำตามการออกเสียง
อย่างเช่น ต้นหญ้า – ต้นย่า,เกเร – เกเล,ตะกร้า – ตะกล้า เป็นต้น
มีที่ยังจำสระบ้างตัวไม่ได้ แต่ครูก็พาพี่ๆตรวจคำตอบ และให้เขียนคำที่ถูกต้องไว้ข้างๆกันแล้ว
เพื่อให้เขาเห็นความแตกต่าง กิจกรรมเล่นเกมต่อคำให้เป็นประโยค
ครูนำบัตรคำมาให้แต่ละกลุ่ม แล้วให้พี่ๆเรียงลำดับคำให้เป็นประโยค
โดยให้เพื่อนที่นั่งอยู่เป็นผู้อ่านออกเสียง พี่ๆได้ฝึกเรียงประโยค
และอ่านเป็นประโยค ครูนำประโยคของแต่ละกลุ่มมาติดบนกระดานแล้วลองให้พี่ๆลองนำคำศัพท์ที่ติดไว้
มาต่อเป็นประโยคใหม่ แล้ววาดภาพให้สัมพันธ์กับประโยคที่แต่ง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องได้ เข้าใจและสามารถแยกแยะคำควบกล้ำแท้ กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้ นำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ ใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๔
๖ – ๑๐
มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
หลักภาษา : คำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้ Key Questions : - นักเรียนเชื่อเรื่องบาป บุญ คุณโทษหรือไม่ เพราะเหตุใด
- นักเรียนเห็นอะไรจากภาพนี้ นักเรียนคิดว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนจะสามารถแยกประเภทคำควบกล้ำและใช้คำควบกล้ำได้ถูกต้องได้อย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด : - Blackboard Share : คำควบกล้ำ
- Show and Share : การนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Mind mapping : คาดเดาเรื่องราว
- Round Robin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้ และการนำไปใช้ - พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพ
-บัตรคำศัพท์
- นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
|
วันจันทร์
ชง : อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพฯลฯ) ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปตอนจบนิทานใหม่ พร้อมวาดภาพประกอบ และอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : - ครูใบ้ท่าทางจากบัตรคำโดยใช้คำควบกล้ำ แล้วให้นักเรียนทายคำ เมื่อนักเรียนทายถูก ครูนำบัตรคำไปติดไว้บนกระดาน
- นักเรียนอ่านออกเสียงคำศัพท์คำควบกล้ำ - ครูติดบัตรคำเพิ่มเติม ให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้-ไม่แท้ ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร แล้วคิดอย่างไร”
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเขียนคำควบกล้ำและจัดหมวดหมู่ควบแท้ ร ล ว และควบไม่แท้ ศร สร ทร จร ฯลฯ ใช้คำถาม “นักเรียนเห็นอะไร มีคำใดที่นอกเหนือจากบัตรคำที่นักเรียนรู้จักอีกบ้าง” (เขียนเป็นชาร์ต) - นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผ่นชาร์ตคำควบกล้ำ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
ใช้ : นำคำศัพท์คำควบกล้ำ ร ล ว ที่ได้มาแต่งประโยค หมวดหมู่ละ ๒ คำ
วันพุธ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ – ไม่แท้ นักเรียนสังเกตจากอะไร เพราะอะไรจึงคิดเช่นนั้น
เชื่อม : - แบ่งกลุ่มเล่นเกมบิงโกควบควบกล้ำ
- นักเรียนอ่านออกเสียงคำศัพท์ในเกมบิงโก และค้นหาคำควบกล้ำเพิ่มเติม
ใช้ : นักเรียนหาคำศัพท์คำควบกล้ำเพิ่มเติม
และนำมาแต่งประโยค ๕ ประโยค
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนกิจกรรมเมื่อวานนี้ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสามารถแยกประเภทคำควบกล้ำและใช้คำควบกล้ำได้ถูกต้องได้อย่างไร”
- นักเรียนค้นหาคำควบกล้ำในนิทานจำนวน ๕ คำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำควบก้ำที่หาในนิทาน
ใช้ : นักเรียนนำคำควบกล้ำมาเขียนการ์ตูน๓ ช่อง
วันศุกร์
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวาน และให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (นิทาน การ์ตูน ความเรียง แผนภาพความคิดฯลฯ)
|
ภาระงาน
- การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละครเหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
- การสรุปความรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ ควบกล้ำไม่แท้
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง
- เขียนสรุปตอนจบใหม่
- คลังคำศัพท์
- การ์ตูน ๓ ช่อง
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (นิทาน การ์ตูน ความเรียงแผนภาพความคิดฯลฯ)
|
ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องได้ เข้าใจและสามารถแยกแยะคำควบกล้ำแท้ กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้ นำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ ใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้ ทักษะการคิด - การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ - การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ -การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม - การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน ทักษะการเรียนรู้ - การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ - มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ : - เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน - มีมารยาทในการฟังและการพูด |
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
ในสัปดาห์ที่ ๔ เริ่มด้วยการอ่านนิทาน
ในสัปดาห์นี้เป็นเรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่า ก่อนเริ่มอ่านครูมีก่องข้าวเหนียวอันเล็กๆ
มาให้นักเรียนดู ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าก่องข้าวอันนี้
ถ้าใส่ข้าวเหนียวลงไปจะสามารถกินได้กี่คน”
พี่ๆก็จะคำนวณและกะปริมาณจากก่องข้าวและหวดนิ่งข้าว ครูแป้งเข้ามาช่วยเสริม ช่วยเล่าเรื่องก่อนอ่าน
การอ่านมีบ้างที่ช้า แต่ส่วนใหญ่ก็สามารถอ่านได้คล่อง หลังจากอ่านเสร็จให้แต่งตอนจบใหม่
ครูแป้งให้พี่ๆลองบอกข้อคิดที่ได้จากเรื่องไม่ซ้ำกัน จากที่ฟังพี่ๆก็เข้าใจเรื่อง
สามารถเล่าและคิดวิเคราะห์ได้ในระดับหนึ่ง ด้วยช่วงวัยที่ต่างกัน กิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
มีเล่นเกมบิงโกคำควบกล้ำ พี่ๆให้ความสนใจและตั้งใจเล่น แต่ครูลืมพาพี่ๆทวนคำศัพท์ ,แบ่งกลุ่มหาคำควบกล้ำจากในหนังสือนิทาน
นิทานที่ใช้เป็นนิทานต่างเรื่องกัน และเป็นนิทานที่ใช้ในสัปดาห์นี้อยู่
คำควบกล้ำที่ได้ก็จะมีหลากหลาย แต่อาจจะมีคำที่เหมือนกันบ้าง อย่างคำควบกล้ำไม่แท้
ให้พี่ๆช่วยกันหาเพิ่มเติมนอกจากคำที่อยู่ในนิทาน วันต่อมาให้พี่ๆนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง
และลองสังเกตคำควบกล้ำของเพื่อนด้วย เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จากการนำเสนอได้เห็นทักษะสื่อสาร
ความกล้าแสดงออกของพี่ๆ การสอนของครูในสัปดาห์นี้ยังคงไม่เต็มที่
คงต้องปรับปรุงต่อไป พยายามหาวิธีการต่างๆให้มากขึ้น
สิ่งที่ได้เรียนรู้และปัญหาที่พบ
ในสัปดาห์นี้ มีวันสำคัญ คือวันไหว้ครู เป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองร่วมกันจัดให้ครู ครูไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดงาน เป็นกิจกรรมที่เป็นกันเอง รู้สึกอบอุ่น ใช้เวลาไม่นาน ไม่จำเป็นต้องมีพานดอกไม้ พานธูปเทียน ปีนี้ให้พี่ๆนำต้นไม้ที่สามารถนำไปปลูกได้มาไหว้ครู ทั้งมีประโยชน์และได้บริโภคในอนาคตด้วย และไม่กระทบต่อการเรียนการสอน และอีกสิ่งหนึ่งที่ประทับใจในสัปดาห์นี้ คือ การที่พี่ป.๑ ได้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกินคาดมาก
ตอนแรกคิดว่าพี่ๆจะต้องเสียงดังแน่นอน ต้องวิ่งเล่นแน่ๆ
แต่ปรากฏว่าพี่ๆทำตามที่เราตกลงกันไว้ เขียนคำศัพท์อย่างตั้งใจ ไม่เสียงดัง
มีเล่นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ได้งานตามเป้าหมาย การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่ดี
สามารถเสริมทักษะการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น
เพราะเด็กในวัยนี้ไม่ชอบอะไรที่ต้องทำซ้ำๆ ชอบอิสระ ชอบการเคลื่อนไหวร่างกาย และชอบความท้าทาย สิ่งเหล่านี้ครูก็พยายามที่หาวิธี หาเทคนิคต่างๆที่น่าสนใจมาให้พี่ๆ ลองปรับลองทำได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ก็พยายามปรับปรุงต่อไป ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้คือยังเก็บเด็กไม่ได้ เป็นเรื่องที่หนักใจตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น