Week6

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำประวิสรรชนีย์ คำไม่ประวิสรรชนีย์ได้ถูกต้อง และแยกคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๐ – ๒๔
มิ..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก ตอน เสือขี้เบื่อ
หลักภาษา  :  คำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
Key Questions :
นักเรียนมีกิจกรรมที่ชอบทำบ้างไหม อย่างเช่นอะไรบ้าง
นักเรียนคิดว่าคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
- บัตรคำ
นิทานสระสนุก ตอน เสือขี้เบื่อ
วันจันทร์
ชง : ครูอ่านนิทานสระสนุก ตอน เสือขี้เบื่อ ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน 
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนกิจกรรมยามว่างของตนเองลงสมุดบันทึก
                           วันอังคาร
ชง : ทบทวนกิจกรรมและจับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๒ กลุ่ม เล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำที่มีคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้จากการเล่นเกม (คำประวิสรรและไม่ประวิสรรชนีย์)
        - นำคำศัพท์มาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำประวิสรรชนีย์-คำไม่ประวิสรรชนีย์
ใช้ :  นักเรียนทำคลังคำศัพท์ประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์ จำนวน ๖ คำ
วันพุธ
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และให้นักเรียนเขียนตามคำบอก(คำพื้นฐานที่คำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์) จำนวน ๑๐ คำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจคำตอบ โดยให้นักเรียนเขียนคำที่ถูกต้องไว้ด้านหลังคำที่เขียนผิด
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการอ่านหนังสือมีประโยชน์อย่างไร”, “ถ้าอ่านหนังสือไม่ออกจะเกิดอะไรขึ้น”
ครูอ่านนิทานสระสนุก ตอน หนูนะกับหนูมะ ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน 
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
      - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเราอ่านป้ายที่ติดอยู่ตามทางไม่ถูก จะเกิดอะไรขึ้น”
ใช้ : นักเรียนไปอ่านป้ายที่ติดไว้รอบๆ โรงเรียน โดยให้ออกเสียงและสะกดคำไปพร้อมๆ กัน
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,“นักเรียนรู้จักผักพื้นบ้านกี่ชนิด อะไรบ้าง
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และวันนี้นักเรียนจะต้องทำอาหารตามฤดูกาล ครูจึงทบทวนเรื่องผักพื้นถิ่นที่อยู่รอบๆตัวเรา
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์ผักที่นำมาทำอาหารในวันนี้ พร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
แผนภาพความคิด
ใบงาน
สมุดคำศัพท์เล่มเล็ก
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำประวิสรรชนีย์ คำไม่ประวิสรรชนีย์ได้ถูกต้อง และแยกคำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




  ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ป.1 ได้เรียนรู้คำที่มีสระเอือ สระอะ และคำศัพท์จากป้ายทั่วโรงเรียน วันจันทร์พี่ๆอ่านนิทานเรื่อง เสือขี้เบื่อ จากเรื่องก็จะได้คำศัพท์ที่มีสระเอือที่หลากหลาย ให้พี่ๆเลือกมาแล้วแต่งเป็นประโยคเกี่ยวกับวันที่น่าเบื่อ แล้วพี่ๆมีกิจกรรมไหนที่ทำให้หายเบื่อได้บ้าง วันอังคารเล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำที่มีคำสระอะ พี่ๆสนุกกับกิจกรรมนี้มาก จะดีมากถ้าพี่ๆทุกคนได้เล่นด้วยกันหมด วันพุธให้เขียนตามคำบอก โดยเอาคำพื้นฐานที่มีสระอะรวมอยู่ด้วย ให้พี่ๆลองเขียนไปก่อน เพื่อครูจะได้วัดว่าพี่ๆเขียนได้มากน้อยเพียงไร ควรแก้ไขเรื่องไหนบ้าง อย่างวันนี้ก็จะเห็นพี่ที่ยังไม่สามารถเขียนเองได้ เขียนได้บางคำ และเขียนได้เกือบทุกคำ คละๆกันไป วันพฤหัสบดีให้อ่านนิทานสระอะ เรื่องหนูนะกับหนูมะ จากนั้นให้พี่ๆออกไปอ่านป้ายที่ติดอยู่รอบๆโรงเรียน กิจกรรมที่ได้ออกนอกห้องเรียน พี่ๆจะให้ความร่วมมือเป็นพิเศษ และสนุกสนานกับการเรียนรู้มาก วันศุกร์ เนื่องจากวันนี้จะมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสามาทำอาหาร ซึ่งหน่วยอีสานบ้านเฮาในสัปดาห์นี้ก็เกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่น ดังนั้นครูจึงให้พี่ๆเขียนคำศัพท์จากผักที่เราได้เตรียมไว้ทำอาหาร เป็นการวัดการเขียนไปใตัว ในสัปดาห์นี้ไม่ได้สอนตามแผนการสอน แต่ปรับให้เข้าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้น ยืดหยุ่นแผนตามสถานการณ์

ระดับบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ อ่าน และเขียน สามารถแยกคำที่ประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์ได้ นำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๐ – ๒๔
มิ..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง พญาคันคาก
หลักภาษา
  :  คำประวิสรรชนีย์ คำไม่ประวิสรรชนีย์
Key Questions : คำประวิสรรชนีย์และคำไม่ประวิสรรชนีย์แตกต่างกันอย่างไร
นักเรียนคิดว่าการเขียน การอ่านการพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
-Mind Mapping : แผนภาพสรุปโครงเรื่อง
- Round Robin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความเหมือน – ความต่างของคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
บัตรคำ
เกมใบ้ท่าทาง
- นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง พญาคันคาก
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านนิทาน “พญาคันคาก” โดยอ่านออกเสียง (อ่านพร้อมกัน  อ่านเรียง อ่านคนเดียว) และอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ
 : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ และวาดภาพประกอบ
วันอังคาร
ชง ทบทวนกิจกรรมและจับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๒ กลุ่ม เล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำ
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้จากการเล่นเกม (คำประวิสรรและไม่ประวิสรรชนีย์)
        - นำคำศัพท์มาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำประวิสรรชนีย์-คำไม่ประวิสรรชนีย์
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์ประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์ อย่างละ ๑๐ คำลงในสมุดบันทึก
วันพุธ
ชง ครูจับสลากแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๔ กลุ่ม แล้วทบทวนงานที่ทำคราวที่แล้ว
- ให้ตัวแทนออกมาจับสลากเลือกนิทานอีสป ๔ เรื่อง แล้วให้แต่ละกลุ่มค้นหาคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์ในนิทานให้ได้เยอะที่สุด
เชื่อม : นักเรียนค้นหาคำศัพท์และเขียนลงในกระดาษที่ครูแจก นำคำเหล่านี้มาแต่งเป็นเรื่องราวพร้อมวาดภาพประกอบ
วันพฤหัสบดี
ชง : แจกกระดาษให้นักเรียนคนละ ๒ แผ่นเล็ก แล้วให้นักเรียนเขียนคำประวิสรรชนีย์ – ไม่ประวิสรรชนีย์ที่ตนเองชอบลงไปอย่างละคำพร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “คำเหล่านี้เกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร เพราะเหตุใดถึงเลือกคำนี้”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่นักเรียนเลือกมา ร่วมกันแชร์และแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนเลือกทำชิ้นงานจากคำศัพท์ที่เขียนตามความสนใจ (นิทาน การ์ตูน ความเรียง แผนภาพความคิดฯลฯ)
วันศุกร์
ชง : - นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงานของตนเอง
      - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเกี่ยวกับชิ้นงานของแต่ละคน และทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ภาระงาน
การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
การเขียนสรุปเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมอักษรนำ
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง
นิทานคำประวิสรรชนีย์ คำไม่ประวิสรรชนีย์
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียงการ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ นักเรียนเข้าใจ อ่าน และเขียน สามารถแยกคำที่ประวิสรรชนีย์ และคำไม่ประวิสรรชนีย์ได้ นำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มีมารยาทในการฟังและการพูด




 ตัวอย่างภาพกิจกรรม






ตัวอย่างภาพชิ้นงาน






บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆ ป.3 ได้เรียนรู้เรื่องคำประวิสรรชนีย์ วันจันทร์อ่านนิทานเรื่อง พญาคันคาก ใช้คำถามถามเกี่ยวกับฤดูกาล อย่างในฤดูฝนที่บ้านของพี่ๆทำอะไรบ้าง พี่หยิน : ทำนาค่ะ , พี่ออมสิน : ผมได้ขับรถไถด้วยครับ ฯลฯ วันอังคารมีกิจกรรมเล่นเกมใบ้ท่าทางจากบัตรคำที่ครูเตรียมไว้ แบ่งเป็น 2 ทีม กิจกรรมวันนี้ควรจะสนุกกว่านี้ ถ้าครูดำเนินกิจกรรมได้ดี แต่วันนี้แบ่งเป็นทีมใหญ่เลยเกิดปัญหา ทำไมได้คะแนนแค่ทีมนั้นละ ทีมผมละ ครูเลยแก้ปัญหาให้งานเขียนคำศัพท์เลยดีกว่า วันพุธแบ่งกลุ่มหาคำประวิสรรชนีย์ - ไม่ประวิสรรชนีย์ในนิทานสั้นๆ แล้วนำมาแต่งเป็นเรื่องราวของกลุ่มตนเอง แต่ละกลุ่มทำได้ดี สามารถนำคำที่ตนเองหาได้มาแต่งได้ต่อเนื่อง และสร้างสรรค์ วันพฤหัสบดีให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเอง จากการสังเกตการทำงานกลุ่มก็จะมีกลุ่มที่ช่วยเหลือกัน แบ่งหน้าที่กันได้ และบางกลุ่มที่ยังไม่ลงตัว ยังเกี่ยงกันทำงานอยู่ วันศุกร์ให้พี่ๆทำชิ้นงานของตนเอง เมื่อวานครูแป้งให้พี่เขียนคำศัพท์และแต่งเรื่องราวไปแล้ว วันนี้ครูเลยให้พี่ๆวาดภาพประกอบจากเรื่องราวที่ตนเองเขียน ให้สอดคล้องกัน สำหรับสัปดาห์นี้ไม่ได้สอนตามแผนทั้งหมด ยืดหยุ่นตามสถานการณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
สัปดาห์นี้ได้ลองทำจิตศึกษาวันพฤหัสบดี ซึ่งเกี่ยวกับดนตรีและศิลปะ พาพี่ๆร้องเพลงรักงอมแงม พร้อมทำท่าประกอบ ครูแดงเสริมด้วยเพลงใบไม้ต้นเดียวกัน เป็นครั้งแรกที่ร้องเพลงให้ผู้อื่นฟัง นอกจากตอนสอบอ่านกลอน การทำจิตศึกษาหรือการสอนในวิชาของตัวเอง ถ้ายังเก็บเด็กไม่ได้ ก็ไม่สามารถทำกิจกรรมให้ลื่นไหลไปได้ตลอด เหมือนในตอนนี้ ตัวเราเองรู้สึกว่าทำได้นะ แต่ยังทำได้ไม่สุด เหมือนมีอะไรที่ทำให้ตัวเราไม่พร้อมที่เปิดรับ ก็คงต้องหาต่อไป สัปดาห์นี้จะมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสาพร้อมๆกับทำอาหารพื้นถิ่น พี่ๆได้เดินหาผักเองจากในโรงเรียน ครูก็ได้รู้จักผักชนิดต่างๆที่เคยเห็นอยู่ทุกวัน แต่ไม่รู้จักชื่อ ครูก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับนักเรียน และอีกกิจกรรมที่พี่ๆชอบ คือการออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ทุกครั้งที่ได้ออกพี่ๆจะมีความสุข สนุกกับการเล่นมาก เพราะได้เล่นไปด้วยเรียนรู้ไปด้วย ปัญหาที่พบในสัปดาห์นี้ คือตอนให้ทำงานกลุ่ม จะยังมีบางกลุ่มที่ยังไม่ค่อยช่วยกันทำงาน เกี่ยงงานกันทำ แต่มีหลายกลุ่มที่แบ่งงานกันได้ ช่วยเหลือกันดี ทำให้งานที่ออกมาได้คุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น