ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำเป็นประโยคได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๕
๑๓ – ๑๗
มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : อ่านนิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับยักษ์ตัวโต
หลักภาษา : ประโยค ๒ ส่วน,ประโยค ๓ ส่วน
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าการแบ่งปันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
- นักเรียนคิดว่าประโยคแต่ละประโยค แตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Mind Mapping : สรุปโครงเรื่องนิทาน
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และสระในภาษาไทย
- Blackboard Share : สระเสียงสั้น สระเสียงยาว
- Show and Share : นำเสนอบัตรคำเกี่ยวกับสระ
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพ
- แถบประโยค
- นิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับยักษ์ตัวโต
|
วันจันทร์
ชง : ครูเล่นนิทานสระสนุก ตอน แมวน้อยกับยักษ์ตัวโตให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่ ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ วันอังคาร
ชง : - ครูนำแถบประโยคและบัตรภาพมาวางไว้บนพื้นคละๆกันไป ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากแถบประโยคนี้บ้าง มีลักษณะเป็นอย่างไร”
- แบ่งกลุ่มเล่นเกมจับคู่บัตรภาพกับแถบประโยค
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์เกี่ยวกับประโยคและบัตรภาพที่ได้
ใช้ : นำประโยคที่ได้มาแต่งนิทาน พร้อมวาดภาพประกอบ และนำเสนอชิ้นงาน
วันพุธ
ชง : - ทบทวนกิจกรรมเมื่อวาน และนำเสนอชิ้นงานต่อ
- ครูให้นักเรียนคิดประโยคเป็นของตัวเอง คนละ ๑ ประโยค
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประโยคที่นักเรียนคิด สามารถแยกเป็นอย่างไรได้บ้าง
- นักเรียนแยกประโยค (ประโยค ๒ ส่วน,๓ ส่วน)และเขียนลงในตารางที่ครูเตรียมไว้
ใช้ : นักเรียนแต่งประโยค ๒ ส่วน,๓ ส่วน อย่างละ ๓ ข้อ ลงในสมุดบันทึก
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูให้นักเรียนบอกประโยคที่ตัวเองแต่งไว้คนละ ๑ ประโยค โดยครูเขียนประโยคไว้บนกระดาน ให้นักเรียนสังเกตประโยคของเพื่อนๆ มีความเหมือน – แตกต่างกับของตัวเองไหม
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับประโยคที่หลากหลาย นักเรียนสามารถแยกประโยคเหล่านี้ได้อย่างไร จัดเป็นแบบไหนได้บ้าง
ใช้ : นักเรียนเลือกประโยคของเพื่อนๆมาคนละ ๕ ประโยค แล้วแยกส่วนประกอบของประโยคว่าเป็น ๒ ส่วนหรือ ๓ ส่วน เขียนใส่ในตารางที่ครูเตรียมไว้ให้
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”/ “การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
|
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- แผนภาพโครงเรื่อง
- นิทานเกี่ยวกับแถบประโยค
- แต่งประโยค ๒ ส่วน และ ๓ ส่วน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำเป็นประโยคได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
|
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้ปรับเรื่องการอ่าน
ให้เพิ่มเป็นสองวันต่อสัปดาห์ คือวันจันทร์และวันพฤหัสบดี วันจันทร์เป็นครั้งแรกที่อ่านได้ดี
ลองให้อ่านเป็นกลุ่มตามเลขที่ ผลออกมาดีมาก
และยังคงเหมือนเดิมคือมีพี่ๆที่ยังอ่านได้ แต่ยังไม่คล่อง
วันอังคารเป็นกิจกรรมเล่นเกมจับคู่แถบประโยคและรูปภาพ โดยแบ่งพี่ๆออกเป็นสองทีม
มีแถบประโยคให้แล้วให้พี่ๆนำรูปภาพไปวาง สลับกับนำรูปภาพไปวางแล้วให้หาแถบประโยค
พี่ๆสนุกในการทำกิจกรรมในวันนี้ วันพุธเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน
วันนี้ให้พี่ๆเขียนตามคำบอก 20 คำ
ใช้เวลาค่อนข้างนาน เกือบทั้งคาบ เพราะกว่าจะเตรียมออกนอกห้อง
แล้วหาพื้นที่การเขียนของตนเองก็ใช้เวลาพอสมควร สิ่งที่พบในการเขียนครั้งนี้
พี่บางคนยังจำสระไม่ได้ เขียนตามการออกเสียงเวลาสะกดคำบ้าง
ทำให้ตอนเขียนเอาพยัญชนะขึ้นก่อน อย่างเช่น ปไ – ไป ,ยไ – ใหญ่ เป็นต้น
เมื่อเขียนเสร็จเราจะมาตรวจคำตอบพร้อมๆกัน พี่ๆจะได้รู้คำศัพท์ที่ถูกต้อง
และครูจะได้รู้ว่าพี่ๆเขียนได้มากน้อยแค่ไหน วันพฤหัสบดีให้อ่านนิทานอีกวัน
เจอปัญหาและสิ่งที่ประทับใจ เนื่องจากใช้วิธีแบบวันจันทร์ คิดว่าจะผ่านไปด้วยดี
แต่ก็เกิดปัญหาอ่านไม่ได้ ไม่ช่วยเพื่อนอ่าน
แต่มีกลุ่มหนึ่งที่มีคนอ่านได้แล้วให้เพื่อนอ่านตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
เห็นการช่วยเหลือกันและกัน วันศุกร์ทบทวนการบ้าน ให้อ่านนิทานตอนแม่มดผมเปีย ให้พี่ลองเล่าเรื่องต่อกันจนจบเรื่อง
จะมีตอนหนึ่งที่เป็นเหมือนคำคล้องจอง เลยให้พี่ๆเขียนและวาดภาพประกอบ
บางคนวาดสัมพันธ์กับภาพมากๆ ในสัปดาห์นี้มีทั้งสิ่งที่ประทับใจและปัญหาที่ต้องแก้
จะทำอย่างไรให้พี่ๆสามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้อง นี่คือโจทย์ที่ตั้งให้ตัวเอง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านบทอาขยาน เข้าใจเรื่องอักษรนำและสามารถแยก ห นำ ,อ นำได้ นำคำมาแต่งเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๕
๑๓ – ๑๗
มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : บทอาขยาน เรื่อง ฝนตกแดดออก,ความดีความชั่ว
หลักภาษา : อักษรนำ Key Questions : - นักเรียนคิดว่าการกระทำมีผลต่อความดี ความชั่วหรือไม่ เพราะเหตุ
- นักเรียนคิดว่าคลิปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แล้วนักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากคลิปนี้บ้าง
- นักเรียนคิดว่าการเขียนการอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด : - Blackboard : เกมแยกอักษรนำ
- Show and Share : นำเสนอนิทานอักษรนำ
- พฤติกรรมสมอง
-Mind Mapping : แผนภาพโครงสร้างอักษรนำ
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน - คลิป VDO เกี่ยวอักษรนำ-บัตรคำ (อักษรนำต่างๆ) - บทอาขยาน เรื่อง ฝนตกแดดออก,ความดีความชั่ว |
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านบทอาขยาน ฝนตกแดดออก โดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน และอ่านทีละคนเป็นวรรคๆ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ) ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนการ์ตูนช่อง
วันอังคาร
ชง : - ครูมีบัตรคำที่หลากหลาย แล้วเขียนบนกระดานแค่คำว่า ใช่ – ไม่ใช่
- เล่นเกมหาคำที่ใช่ – คำที่ไม่ใช่เกี่ยวกับอักษรนำ (มโนมติ)
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับคำในบัตรคำ และนำคำที่ได้จากการเล่นเกมมาวิเคราะห์ แยกอักษรนำที่มี ห นำ และ อ นำ
ใช้ : นักเรียนทำแผนภาพโครงสร้างอักษรนำพร้อมแต่งประโยค
วันพุธ
ชง : นักเรียนอ่านบทอาขยาน “ความดีความชั่ว” โดยอ่านออกเสียงพร้อมกัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้ : นักเรียนหาคำที่มีอักษรนำจากบทอาขยาน และหาเพิ่มเติมได้ เขียนลงในสมุดเล่มเล็ก
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูนำคลิป VDO เกี่ยวอักษรนำมาให้นักเรียนดู พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าคลิปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แล้วนักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากคลิปนี้บ้าง”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิป VDOและการนำอักษรนำไปใช้
ใช้ : นักเรียนแต่งนิทานเกี่ยวกับอักษรนำ พร้อมวาดภาพประกอบ และนำเสนอผลงาน
วันศุกร์
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวาน พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร”/ “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ (นิทาน การ์ตูน ความเรียง แผนภาพความคิดฯลฯ)
|
ภาระงาน
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การเขียนสรุปเป็นการ์ตูน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมอักษรนำ
- การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องเกี่ยวกับอักษรนำ
- แผนภาพโครงสร้างอักษรนำ
- นิทานอักษรนำ
-สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทานความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านบทอาขยาน เข้าใจเรื่องอักษรนำและสามารถแยก ห นำ ,อ นำได้ นำคำมาแต่งเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้ ทักษะการคิด - การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ - การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ -การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม - การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน ทักษะการเรียนรู้ - การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ - มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ : - เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน - มีมารยาทในการฟังและการพูด |
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้เริ่มด้วยการอ่านบทอาขยาน
“ฝนตกแดดออก” พี่ๆดูให้ความสนใจกันมาก เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศไปในตัว
หลังจากที่อ่านจบให้พี่ๆบอกว่ากลอนที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
มีทั้งเกี่ยวกับนกกระจอก,ต้นมะพร้าว,ความดี และการแบ่งปัน เป็นต้น
วันอังคารลองให้พี่ๆเล่นเกมใช่-ไม่ใช่ บางคนไม่เข้าใจ ครูนำบัตรคำที่มีอักษรนำอยู่
และคำอื่นๆอยู่ มาถามพี่ๆ ให้ตอบแค่ใช่กับไม่ใช่ แล้วครูจะเป็นผู้ติดบัตรคำเอง
ครูต้องการให้พี่สังเกตคำ ให้ลองเรียนรู้เอง
คิดเองก่อนว่าสิ่งที่ครูจะนำมาสอนในสัปดาห์นี้คืออะไร
ชงไปหลายประโยคกว่าพี่ๆจะตอบได้ตรงกับอักษรนำ วันพุธให้อ่านบทอาขยานอีกหนึ่งเรื่อง
“ความดีความชั่ว” วันนี้เกิดปัญหาในการอ่าน ครูเลยแบ่งให้มาอ่านกับครูทีละคน
กับครูยุ้ยด้วย ในเมื่อสอนไม่ได้ จึงให้ทำงานแทน ให้พี่ๆแบ่งกลุ่มแล้วเขียนอักษรนำ
ที่มี ห นำ และ อ นำ เป็นคลังคำแตกย่อยเป็นคำศัพท์ให้ได้เยอะที่สุด
วันพฤหัสบดีทบทวนอักษรนำ แล้วให้ทำงาน วันนี้เป็นอักษรไขว้
ให้พี่ๆหาคำที่มีอักษรนำให้ได้เยอะที่สุด แล้วเลือกคำที่ตนเองชอบมาหนึ่งคำมาวาดเป็นภาพสื่อความหมาย
จากงานอักษรไขว้พี่ๆบางคนหาคำศัพท์ได้มากกว่าที่ครูเตรียมไว้อีก วันศุกร์ทบทวนแล้วให้โจทย์พี่ๆว่า
พี่ๆจะทำชิ้นงานอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนช่อง ความเรียง
เขียนวาดภาพประกอบเรื่อง ให้ทำเกี่ยวกับอักษรนำ ที่มี ห นำให้ครบทั้งแปดตัว และ อ
นำอีกสี่ตัว ทำอย่างไรให้พี่ๆจำเรื่องอักษรนำได้ ปัญหาในสัปดาห์นี้ คือ
ให้พี่ๆทำงานเยอะเกินไป ทำให้มีงานค้าง
ยังตีโจทย์เรื่องการนำหลักภาษาไปใช้จริงยังไม่ได้
ยังคงเป็นแค่การเรียนรู้ยังไม่ได้นำไปใช้
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้และปัญหาที่พบ
เริ่มต้นด้วยวันจันทร์ที่พี่ๆ ป.1 ให้ความร่วมมือในการอ่านดีกว่าครั้งก่อนๆ
ในสัปดาห์นี้ได้ลองทำจิตศึกษา 2
วัน คือวันจันทร์
ทำเกี่ยวกับผักที่อยู่รอบๆตัวเรา ให้พี่ๆลองชิมผัก แล้วบอกรสชาติ
ผักที่นำมามีทั้งที่พี่ๆคุ้นเคย และไม่รู้จัก พี่บางคนคิดว่ายอดมะระเป็นยอดตำลึง
ก็ขมกันไป และอีกวันคือวันพุธ พาทำโยคะ ทำไปลืมท่าไป แต่ก็พอที่จะทำได้บ้าง
ยังคงจำสเตปในการพูดการทำได้ไม่หมด ครูแดงเข้ามาช่วยด้วยตลอด ส่วนเรื่องการเรียนพี่ๆชอบการเรียนรู้นอกห้องเรียนมาก
ชอบเคลื่อนไหว ดังนั้นจึงควรหากิจกรรมที่เหมาะสมและสามารถบูรณาการได้ทั้งในและนอกห้องเรียน
และในวันพุธมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา พาพี่ๆทำกิจกรรมทำกิ๊บ ทำโบว์ติดผม
พี่ๆตั้งใจทำและตั้งใจเรียนรู้มาก แต่เวลาและอุปกรณ์ก็มีอยู่อย่างจำกัด
ปัญหาในสัปดาห์ ชิ้นงานหรือเนื้อหางานอาจจะเยอะเกินไป
ทำให้ทำไม่ทันเวลาและมีงานค้าง ยังตีโจทย์เรื่องการนำหลักภาษาไปใช้จริงยังไม่ได้
ยังคงเป็นแค่การเรียนรู้ยังไม่ได้นำไปใช้ ปัญหาที่ต้องแก้อีกอย่างหนึ่ง
คือจะทำอย่างไรให้พี่ๆไม่ว่าจะเป็นพี่ ป.1 หรือพี่
ป.3 ให้สามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้อง
ควรเสริมควรเพิ่มอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น