ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เป้าหมาย : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนอักษรนำ แยกอักษรนำที่มี ห นำ และ อ นำได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑๐
๑๘ – ๒๒
ก.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : อ่านนิทานกินหาง
หลักภาษา : อักษรนำ
Key Questions :
- นักเรียนสามารถอ่าน และแยกอักษรนำได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard share : คำศัพท์อักษรนำ - Mind Mapping : สรุปความเข้าใจ
- Brainstorms ระดมความคิดเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :- ห้องเรียน - นิทานกินหาง |
วันจันทร์ - วันพุธ
วันหยุดต่อเนื่องวันสำคัญ
(วันอาสาฬหบูชา/ออกพรรษา)
วันพฤหัสบดี
ชง : นักเรียนอ่านนิทาน “นิทานกินหาง” โดยอ่านออกเสียง (อ่านพร้อมกัน อ่านเรียง อ่านคนเดียว) และอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ) ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพความคิด
วันศุกร์
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง อักษรนำ และนิทานที่ได้อ่าน
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดในสัปดาห์นี้โดยแต่งเป็นเรื่องราว พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
|
ภาระงาน
- การอ่านวิเคราะห์วรรณกรรม(นิทาน) เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
- การทบทวนหลักภาษาที่เรียนรู้ - การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เนื้อหาและสิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งนิทาน วรรณกรรมที่อ่าน - การนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้/ผลงาน
ชิ้นงาน :
- แผนภาพสรุปความเข้าใจ
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนอักษรนำ แยกอักษรนำที่มี ห นำ และ อ นำได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
|
ตัวอย่างชิ้นงาน
บันทึกหลังการสอน
เนื่องจากสัปดาห์นี้ มีวันหยุดเยอะ และใกล้จะปิด Quarter ครูจึงให้พี่ๆ สรุปองค์ความรู้วิชาภาษาไทยเป็นแบบ Web แบ่งเป็น ๕ ช่อง คือ ชื่อนิทานสระสนุก ๕ ตอน ,สระเสียงสั้น เสียงยาว , การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม , วรรณยุกต์ , คำศัพท์ ๑๕ คำ ครูเขียนเป็นตัวอย่าง แล้วให้พี่หาชื่อตอนนิทาน สระ และคำศัพท์เอง ให้เวลาพี่ๆ ทำงานชิ้นนี้สองวัน สัปดาห์หน้าพี่ๆ เริ่มวางแผน เตรียมซ้อมเปิดบ้านทั้งสัปดาห์
เนื่องจากสัปดาห์นี้ มีวันหยุดเยอะ และใกล้จะปิด Quarter ครูจึงให้พี่ๆ สรุปองค์ความรู้วิชาภาษาไทยเป็นแบบ Web แบ่งเป็น ๕ ช่อง คือ ชื่อนิทานสระสนุก ๕ ตอน ,สระเสียงสั้น เสียงยาว , การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม , วรรณยุกต์ , คำศัพท์ ๑๕ คำ ครูเขียนเป็นตัวอย่าง แล้วให้พี่หาชื่อตอนนิทาน สระ และคำศัพท์เอง ให้เวลาพี่ๆ ทำงานชิ้นนี้สองวัน สัปดาห์หน้าพี่ๆ เริ่มวางแผน เตรียมซ้อมเปิดบ้านทั้งสัปดาห์
ระดับชันประถมศึกษาปีที่ ๓
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำซ้ำ คำซ้อนได้ นำมาใช้ในการสื่อสารได้ถูกวิธี รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑๐
๑๘ – ๒๒ก.ค. ๒๕๕๙ |
วรรณกรรมเรื่อง : อ่านนิทานชาวบ้าน เรื่อง โลภมากลาภหาย
หลักภาษา : คำซ้ำ คำซ้อน Key Questions :
- นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมบางคนถึงไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี นั้นเป็นเพราะเหตุใด
- นักเรียนสามารถแยกคำซ้ำ คำซ้อนได้อย่างไร - การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไรเครื่องมือคิด : - Blackboard share : คำศัพท์ (คำซ้ำ คำซ้อน) - Mind Mapping : สรุปความเข้าใจ
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :- ห้องเรียน - นิทานชาวบ้าน เรื่อง โลภมากลาภหาย |
วันจันทร์ - วันพุธ
วันหยุดต่อเนื่องวันสำคัญ
(วันอาสาฬหบูชา/ออกพรรษา)
วันพฤหัสบดี
ชง : นักเรียนอ่านนิทาน “ปลาหมอตายเพราะปาก” โดยอ่านออกเสียง (อ่านพร้อมกัน อ่านเรียง อ่านคนเดียว) และอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้ จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ) ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพความคิด
วันศุกร์
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ พร้อมทั้งเขียนคำศัพท์ใหม่บนกระดาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง คำซ้ำ คำซ้อน
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดในสัปดาห์นี้โดยแต่งเป็นเรื่องราว พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
|
ภาระงาน
- อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม(นิทาน) เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
-ทบทวนหลักภาษาที่เรียนรู้ -วิเคราะห์ สังเคราะห์ เนื้อหาและสิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งนิทาน วรรณกรรมที่อ่าน -นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้/ผลงาน
ชิ้นงาน
- แผนภาพสรุปความเข้าใจ |
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอ่าน เขียนคำซ้ำ คำซ้อนได้ นำมาใช้ในการสื่อสารได้ถูกวิธี รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้ ทักษะการคิด - การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ - การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ -การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม - การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน ทักษะการเรียนรู้ - การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ - มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ : - เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน - คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน - มีมารยาทในการฟังและการพูด |
บันทึกหลังการสอน
เนื่องจากสัปดาห์นี้ เป็นวันหยุดเยอะ และใกล้จะปิด Quarter จึงให้พี่ๆ สรุปองค์ความรู้วิชาภาษาไทยเป็นแบบ Mind mapping สรุปทุกเรื่องที่เรียนมาตั้งแต่สัปดาห์แรกถึงสัปดาห์นี้ ทั้งวรรณกรรม และหลักภาษา ครูทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ และให้พี่ๆ ช่วยกันสรุปหัวข้อหลักๆ แล้วค่อยแตกออกไปเป็นกิ่งย่อยๆ เอง เนื่องจากมีเวลาน้อยพี่ๆ อาจทำได้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นัก ต้องทำงานที่ค้างให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้า และในสัปดาห์หน้าพี่ๆก็เริ่มวางแผน เตรียมซ้อมเปิดบ้านทั้งสัปดาห์
เนื่องจากสัปดาห์นี้ เป็นวันหยุดเยอะ และใกล้จะปิด Quarter จึงให้พี่ๆ สรุปองค์ความรู้วิชาภาษาไทยเป็นแบบ Mind mapping สรุปทุกเรื่องที่เรียนมาตั้งแต่สัปดาห์แรกถึงสัปดาห์นี้ ทั้งวรรณกรรม และหลักภาษา ครูทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ และให้พี่ๆ ช่วยกันสรุปหัวข้อหลักๆ แล้วค่อยแตกออกไปเป็นกิ่งย่อยๆ เอง เนื่องจากมีเวลาน้อยพี่ๆ อาจทำได้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นัก ต้องทำงานที่ค้างให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้า และในสัปดาห์หน้าพี่ๆก็เริ่มวางแผน เตรียมซ้อมเปิดบ้านทั้งสัปดาห์
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
สัปดาห์นี้ให้พี่ๆ ทั้ง ป.๑ และ ป.๓ ได้สรุปองค์ความรู้หลังเรียนทั้งหมด เพราะสัปดาห์หน้าทั้งสัปดาห์ พี่ๆ จะเริ่มวางแผน และเตรียมซ้อมเตรียมกิจกรรมสำหรับเปิดบ้านทั้งสัปดาห์ นอกจากนี้ยังได้เห็นผู้ปกครองพี่ ป.๓ มาทำกิจกรรมได้เห็นการสาวไหม การปั่นด้าย และได้ชิมหนอนไหมที่ได้เลี้ยงมาด้วย
ลองทำ Body Scan แบบยืน ตามสคริปท์ พี่ๆ ยังไม่ค่อยชินเท่าไรนัก ตัวครูเองก็ทำนอกสคริปท์ไปเยอะเหมือนกัน การที่จะทำนั้นมันต้องใช้เวลาในการฝึกบ่อยๆ ทำหลายๆ ครั้ง ลองเปลี่ยนสลับกันไป เพื่อให้พี่ๆ ชิน และรู้จักการทำแบบอื่นนอกจากแบบนอนบ้าง
สัปดาห์นี้ให้พี่ๆ ทั้ง ป.๑ และ ป.๓ ได้สรุปองค์ความรู้หลังเรียนทั้งหมด เพราะสัปดาห์หน้าทั้งสัปดาห์ พี่ๆ จะเริ่มวางแผน และเตรียมซ้อมเตรียมกิจกรรมสำหรับเปิดบ้านทั้งสัปดาห์ นอกจากนี้ยังได้เห็นผู้ปกครองพี่ ป.๓ มาทำกิจกรรมได้เห็นการสาวไหม การปั่นด้าย และได้ชิมหนอนไหมที่ได้เลี้ยงมาด้วย
ลองทำ Body Scan แบบยืน ตามสคริปท์ พี่ๆ ยังไม่ค่อยชินเท่าไรนัก ตัวครูเองก็ทำนอกสคริปท์ไปเยอะเหมือนกัน การที่จะทำนั้นมันต้องใช้เวลาในการฝึกบ่อยๆ ทำหลายๆ ครั้ง ลองเปลี่ยนสลับกันไป เพื่อให้พี่ๆ ชิน และรู้จักการทำแบบอื่นนอกจากแบบนอนบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น