Week1

สิ่งที่ได้เรียนรู้และปัญหาที่พบ

             วิถีของที่นี่เป็นสิ่งที่ยังคงสงสัย และต้องการที่จะหาคำตอบ เริ่มเรียนรู้จากการสังเกตในหลายๆเรื่อง ค่อยๆทำความเข้าใจในสิ่งที่เราไม่เคยทำอย่างการพูด ที่ตัวเราเองชอบพูดหลุดไปในหลายอย่าง ลืมคำลงท้ายบ้าง พูดเสียงห้วนๆบ้าง พูดเสียงดังไปบ้าง เริ่มเรียนรู้การพูด เตือนตัวเองเสมอๆเวลาพูดกับพี่ๆ เพราะถ้าเราไม่แก้ พี่ๆอาจจะเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ควรทำจากเรา เหมือนเราเป็นตัวแบบให้กับเขา ดังนั้นสิ่งที่เริ่มเรียนรู้คือ การพูด ไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนก็ตามควรที่จะเตือนตัวเองเสมอๆ ว่าควรใช้คำพูดแบบไหน ใช้เสียงในระดับ ในเรื่องการสอน ตื่นเต้นยังกลัวว่าจะสอนไม่ถูกวิธี กลัวว่าจะพูดไม่ถูก ยังจัดการเวลาไม่ถูก พี่ๆทำงานตามเวลาไม่ทัน ดังนั้นตัวเราเองควรกระชับเวลาในการสอนให้มากขึ้น แต่เนื้อหาวิชาก็ต้องครบถ้วนตามจำนวนด้วยเช่นกัน จากที่สังเกตพี่ๆชอบทำกิจกรรมท้าทาย หรือที่เคลื่อนไหวมากกว่าการเรียนที่อยู่นิ่งๆ ดังนั้นปัญหาและสิ่งที่ตัวเราควรแก้ไขและพัฒนา คือเรื่องการใช้คำพูด การจัดการเวลา และการหากิจกรรมใหม่ๆที่ส่งเสริมทักษะของพี่ๆ ได้เรียนรู้วิธีการเก็บเด็กของครูแต่ละท่าน เพราะเด็กแต่ละห้องแตกต่างกัน ครูประชั้นก็จะมีวิธีที่แตกต่างกันไปด้วย ได้สังเกตและลองนำมาใช้บ้าง ซึ่งก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง คงต้องปรับปรุงต่อไป

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๖  ๒๐
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานสระสนุก
หลักภาษา  :  พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์
Key Questions :
นักเรียนเห็นอะไรจากภาพบ้าง คิดว่าเรื่องราวน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
- ถ้านักเรียนนึกถึงนิทาน นักเรียนอยากรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เพราะเหตุใด
นักเรียนคิดว่าเรื่องราวใน
นิทานสระสนุกจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Show and Share : การนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการเล่นเกมจับคู่
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ (นิทาน)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
บัตรภาพ/บัตรคำ
หนังสือนิทานสระสนุก
วันจันทร์
ชง : - ครูและนักเรียนทักทาย แนะนำตัวกันในวันเปิดเรียนวันแรก สร้างฉันทะและสร้างแรงบันดาลใจ
      - ครูให้นักเรียนดูบัตรภาพเกี่ยวกับนิทาน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากภาพบ้าง คิดว่าเรื่องราวน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร”

เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเขียนคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับนิทานพร้อมวาดภาพประกอบ


วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านักเรียนนึกถึงนิทาน นักเรียนอยากรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง เพราะเหตุใด ”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
วันพุธ
ชง : ครูแนะนำหนังสือนิทาน นิทานสระสนุก” และใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเรื่องราวในนิทานสระสนุกจะเป็นอย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ และเขียนแผนภาพความคิดสรุปเรื่องราวตามความเข้าใจ
วันพฤหัสบดี
ชง : เล่นเกมจับคู่ โดยครูจากแจกบัตรคำ และบัตรภาพที่เข้าคู่กันให้นักเรียนแต่ละคนไม่ซ้ำกัน (บัตรพยัญชนะ/สระ/วรรณยุกต์)
      
กติกา เมื่อนักเรียนได้บัตรภาพหรือบัตรคำแล้ว ให้นักเรียนหันด้านที่เป็นคำหรือภาพออก เมื่อครูบอกให้จับคู่กัน ให้นักเรียนดูบัตรภาพหรือบัตรคำของเพื่อนที่คิดว่าเข้าคู่กัน แล้วเดินไปนั่งข้างๆ ทำอย่างนี้จนครบทุกคู่
เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเกมจับคู่
         - นักเรียนที่จับคู่กัน นำเสนอบัตรคำหรือบัตรภาพที่คู่ตนเองได้ แล้วบอกว่าสิ่งที่ได้คืออะไร อ่านว่าอย่างไร
ใช้ : นักเรียนทำใบงาน (เติมพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้สมบูรณ์)
วันศุกร์
หยุดวันวิสาขบูชา
ภาระงาน
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
การสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ชิ้นงาน
เขียนคาดเดาเรื่อง
แผนภาพความคิดสรุปเรื่องราว
ใบงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน





ตัวอย่างภาพกิจกรรม


ตัวอย่างภาพชิ้นงาน

พี่ๆ เขียนคำศัพท์ที่ตัวเองรู้จัก

พี่ๆ นำพยัญชนะที่ตัวเองชอบมาเขียนเป็นคลังคำศัพท์

แบ่งกลุ่มแล้วนำบัตรภาพมาให้พี่ๆ เขียนเติมพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง

บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกที่ครูทำการสอน วันแรกครูทักทายพี่ๆ และให้พี่ๆแนะนำตัว ลองให้พี่ๆคาดเดาเรื่องราวจากปกนิทานสระสนุก ใช้คำถามว่า “พี่ๆเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง” คำตอบที่ได้ก็จะหลากหลาย วันอังคารลองให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ที่ตนเองรู้จักให้ได้อย่างน้อย 10 คำขึ้นไป พี่ๆเขียนได้คล่อง แต่อาจมีสะกดผิดบ้าง และบางคนยังใช้เวลานานในการทำงานอยู่ วันพุธครูให้พี่ๆฝึกออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้อง และให้พี่ๆเลือกพยัญชนะตัวที่ชอบมา 4 ตัว นำมาเขียนแตกย่อยออกไปเป็นคำศัพท์ที่พี่ๆรู้จัก วันพฤหัสบดี วันนี้ชงด้วยการพาพี่ๆทำท่าทางประเพลงกรรไกร ไข่ ผ้าไหม พี่ๆดูสนุกแลละชอบกิจกรรมนี้ จากนั้นให้พี่ๆแบ่งกลุ่มทำงาน โดยครูจะมีบัตรภาพให้กลุ่มละ 5 คำ และกระดาษเปล่าชิ้นเล็กๆ ให้พี่ๆเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง ตามความเข้าใจของพี่ๆ พี่ๆแบ่งหน้าที่การทำงาน และทำงานเสร็จตามเวลา ครูให้พี่ๆนำเสนอชิ้นงานของกลุ่มตัวเองให้เพื่อนๆฟัง ครูจะเขียนคำศัพท์ที่กลุ่มพี่ๆได้ไว้บนกระดาน เพื่อที่เวลาว่างพี่ๆจะได้มาตรวจเช็คความถูกต้องอีกรอบ ปัญหาที่พบ คือครูยังใหม่ ทำตัวไม่ถูก ใช้คำถามและการพูดยังไม่ค่อยคล่อง การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแบบแผน พยายามปรับให้ยืดหยุ่นเข้ากับพี่ๆให้ได้มากที่สุด



ระดับประถมศึกษาปีที่ 3

เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนสามารถอ่านและเขียนสะกดคำ และเขียนแจกลูกคำได้ สามารถเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานอ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้


Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๖  ๒๐
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง พิกุลทองหลักภาษา  :  การสะกดคำ การแจกลูกคำ และการอ่านคำ
Key Questions : - จากปกนิทานนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง น่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
- นักเรียนคิดว่าเนื้อหานิทานจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ถ้านักเรียนจะสื่อสารหรือพูดคุยกับผู้อื่นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น
- นักเรียนจะเขียน อ่าน หรือนำคำต่างๆมาใช้ให้เหมาะสมได้อย่างไร
เครื่องมือคิด : - Blackboard Share คำที่มีตัวสะกดในนิทาน
- Show and Share :
การนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้เรื่องนิทาน
-  Brainstorms : ระดมความคิดเห็นและการเรียนรู้เกี่ยวกับนิทาน - Flow Chart : ชาร์ตความรู้การจัดหมวดหมู่คำศัพท์ที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด
- Mind mapping : สรุปองค์ความรู้ (ก่อนเรียน)
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ห้องเรียน
ตารางฐานกรณ์
หนังสือนิทานพื้นบ้านไทยเรื่อง พิกุลทอง
วันจันทร์
ชง : - ครูและนักเรียนทักทายกันในวันเปิดเรียนวันแรก
      
- ครูให้นักเรียนดูปกนิทานพื้นบ้านไทยที่จะใช้ในสัปดาห์นี้ เรื่อง พิกุลทอง
      - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากปกนิทานนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง น่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร”
/ “นักเรียนคิดว่าเนื้อหานิทานจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนเขียนคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับนิทานพร้อมวาดภาพประกอบ

*** การบ้าน “สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็นMind mapping
วันอังคาร
ชง : ครูเล่านิทานพื้นบ้าน เรื่อง พิกุลทองให้นักเรียนฟัง จากนั้นให้นักเรียนอ่านนิทานโดยการอ่านออกเสียงพร้อม
เชื่อม
 : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ
 : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯใช้ : นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
วันพุธ
ชง : - ครูให้นักเรียนฝึกออกเสียงพยัญชนะตามฐานกรณ์
      - ครูเลือกคำศัพท์จากในนิทานมา ๕ คำ ให้นักเรียนฝึกออกเสียง
เชื่อม : นักเรียนค้นคว้าและเขียนคำศัพท์ตามอิสระให้ได้มากที่สุด เช่น สิ่งที่อยู่รอบๆตัว ที่บ้าน ที่โรงเรียน ในห้องเรียน ที่สนามกีฬา ที่โรงอาหาร เป็นต้น บันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนกิจกรรมเมื่อวานนี้ ครูให้นักเรียนเลือกคำศัพท์จากที่เขียนเมื่อวาน จำนวน ๕ คำ
      - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากคำที่เลือกมาบ้าง เป็นคำที่มีตัวสะกดหรือเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด”

     
แบ่งกลุ่มเล่นเกมหาคำที่มีตัวสะกดจากนิทานจำนวน ๑๐ คำ 
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ตนเองหาในนิทาน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำคำศัพท์ที่ได้มาแต่งประโยค ๕ ประโยค และวาดภาพประกอบ
วันศุกร์
หยุดวันวิสาขบูชา
ภาระงาน
- การคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับนิทาน
- การเขียนคาดเดาเรื่องราวและวาดภาพประกอบจากปกนิทาน
- การอ่านนิทานพื้นบ้านไทย เรื่อง พิกุลทอง
การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
การสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ชิ้นงาน
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็น Mind mappingสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่านพร้อมวาดภาพประกอบ
แผนภาพโครงเรื่อง
แต่งประโยคจากคำศัพท์พร้อมวาดภาพประกอบ
ชาร์ตสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในนิทานเรื่องพิกุลทอง สามารถสะกดคำ แจกลูกคำ และอ่านเป็นคำได้ สามารถเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานอ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
มีมารยาทในการฟังและการพูด





 ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




บันทึกหลังการสอน 
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกที่ครูทำการสอน สอนในวันแรกลองพูดคุยทักทายพี่ๆ ลองให้พี่ๆคาดเดาเรื่องจากหน้าปกนิทานพื้นบ้านไทย โดยให้พี่ๆยื่นหนังสือนิทานส่งต่อทีละคน แล้วให้พี่ๆบอกว่าเห็นอะไรจากปกบ้าง แล้วคิดว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร พี่ๆส่วนใหญ่ก็จะสอบคล้ายๆกัน เห็นช้าง เห็นคนตกจากหลังช้าง เห็นธง จากนั้นครูลองให้พี่ๆบอกว่าเคยเรียนภาษาไทยเรื่องอะไรมาแล้วบ้าง แล้วให้เขียนเป็น Mind Mapping วันอังคารครูให้พี่ๆ อ่านนิทาน เรื่อง พิกุลทอง โดยให้พี่ๆอ่านพร้อมๆกัน ถึงช่วงกลางๆเรื่อง ก็เริ่มให้อ่านทีละคน จากการสังเกตของครู จะเห็นมีพี่บางคนยังอ่านไม่คล่อง และมีพี่ที่อ่านได้เร็ว เมื่ออ่านเรื่องเสร็จ ครูก็ใช้คำถามที่สอดรับกับพฤติกรรมสมองถามพี่ๆ ให้สรุปเรื่องราวที่อ่านลงสมุดบันทึก วันพุธครูทบทวนการสอนออกเสียงพยัญชนะ แล้วจะพาฝึกออกเสียงตามฐานกรณ์ ครูแป้งช่วยสอนให้พี่ๆออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้อง และลองแยกพยัญชนะตามการออกเสียง ครูมีการบ้านให้พี่ๆเขียนคำศัพท์ที่อยู่รอบๆตัวเราลงในสมุดบันทึก วันพฤหัสบดีครูพาพี่ๆทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนเริ่มเข้าสู่เนื้อหา วันนี้พี่ๆดูสนใจและร่วมกิจกรรมกันมากขึ้น ทบทวนการบ้านก่อน จากนั้นครูให้พี่ๆแบ่งกลุ่มโดยใช้เพลงผึ้งน้อย พี่ๆแบ่งกลุ่มโดยครูให้พี่ๆเลือกคำศัพท์จากในนิทานมาทำหน้าต่างคำศัพท์ ปัญหาที่พบในสัปดาห์นี้ คือครูยังไม่ค่อยรู้จักพี่ๆ กังวลในการสอนกลัวทำไม่ถูก ใช้คำพูดยังไม่ค่อยเป็น ติดการพูดของตัวเองจนลืมตัว ยังทำกิจกรรมหรือทำตัวไม่ค่อยถูก รู้สึกกลัว ตื่นเต้นในการสอน สอนไม่ตรงตามแผน และจัดการเวลายังไม่ค่อยถูก จะพยายามหากิจกรรมใหม่ๆมาให้พี่ๆลองเรียนรู้ต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น